Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2937
Title: Light: The Spirit of Beauty and Soul
แสงมิติความงามแห่งจิตวิญญาณ
Authors: Sakchai UTTITHO
ศักชัย อุทธิโท
PREECHA THAOTHONG
ปรีชา เถาทอง
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: แสง
ความไม่แน่นอน
ผ้าทอมือ
สี
อีสาน
Light
The Uncetatinty Principle
Hand-woven textiles
Colors
Northeastern Thailand
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   Natural light is a key factor of all kinds of arts. Every painting, sculpture and architecture needs natural light to work with its artistic elements. Light varies in different local areas; variation of light greatly impacts folk cultures related to particular kind of light. The strong sunlight in the Northeast of Thailand reflects its dry highlands where the culture of hand-woven textiles, e.g. Praewa and Mudmee, originates. Wearing these two kinds of fabrics while the body is moving in the natural light makes the patterns and colors of the clothing change. This visibly highlights the unique beauty of the Northeast with its long history. According to this understanding, this dissertation posed a question on the ability of light in the Northeast, when touches the hand-woven textiles, to change one’s visual sensibility. The research methods include consideration of the uncertainty principle for paintings which aim to find any changes on surfaces created by contemporary artists, and on artistic processes of paintings, techniques and the specific research instrument owned by the researcher. Research findings show that the artistic process of painting can impact change or display uncertainty on the large canvas. This can happen while the audience moves to see the small details of the painting. This characteristic corresponds to the change seen on the hand-woven textiles illuminated by the Northeastern light. This body of knowledge can be further investigated in the contemporary context and in future.
แสงจากธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานของงานศิลปะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมสำคัญทั่วโลกต่างก็ต้องอาศัยแสงธรรมชาติที่ทำงานต่อองค์ประกอบของศิลปะแต่ละประเภท แสงในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับแสงเฉพาะแบบ แสงในอีสานที่มี ความร้อนแรงสัมพันธ์กับพื้นที่ราบสูงที่ค่อนข้างแห้งแล้งทำให้เกิดวัฒนธรรมผ้าทอมือ เช่น ผ้าแพรวาและผ้ามัดหมี่ ผ้าทั้งสองนี้ยามสวมใส่และเคลื่อนไหวในแสงธรรมชาติจะเกิดความเปลี่ยนแปลงของลวดลายและสีสันของผ้าที่ชาวอีสานแต่ละท้องถิ่นพบเห็นเป็นความงามเฉพาะแบบของตนเองมายาวนาน อาศัยพื้นฐานความเข้าใจนี้ งานวิทยานิพนธ์นี้ตั้งคำถามว่าแสงที่มีลักษณะเฉพาะของอีสานเมื่อต้องผืนผ้าทอมือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการเห็นได้อย่างไร โดยอาศัยกระบวนการศึกษาทั้งการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอน การค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างสรรค์จิตรกรรมที่มุ่งแสวงหาความเปลี่ยนแปลง บนพื้นผิวของศิลปินร่วมสมัยและการค้นคว้าด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเทคนิคและเครื่องมือเฉพาะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเอง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรมสามารถสร้างผลลัพธ์ของความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ได้ ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับผู้ชมยามเคลื่อนไหวไปชมจิตรกรรมไปตามจุดต่างๆ ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนผ้าทอมือยามที่มีผู้สวมใส่เคลื่อนไหวอยู่ในแสงอีสาน ผลการศึกษายังช่วยต่อยอดองค์ความรู้นี้ให้ต่อเนื่องกับสังคมร่วมสมัยและสืบทอดไปยังอนาคตอีกด้วย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2937
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59007806.pdf7.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.