Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2939
Title: ORGANIC TRAPS
กับดักรูปอินทรีย์
Authors: Wachirawut TARESTREESUAN
วชิราวุฒน์ ธเรษตรีศวร
PHATYOS BUDDHACHAROEN
พัดยศ พุทธเจริญ
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: หลุมพลาง
จินตภาพ
รูปอินทรีย์
Traps
Images
Organic
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis “Organic traps” is based on the concept of creating artwork with balanced aesthetic harmony concerning the life of living things on earth that are governed by the same laws of nature. In terms of survival and adapting to suit environmental living conditions, some organisms are given a set of options to choose from under the natural selection process while others are free to make their own choices independently according to the system of symbiosis. This is part of the evolutionary process to ensure that species do not become extinct. For example, in the case of plants that blend themselves in with the natural environment as part of the ecosystem in which they grow and get their nourishment under the same symbiotic living conditions with other organisms, some have evolved differently from others but still exist together symbiotically in order to survive. “Carnivorous plants” or what may be referred to as “organic traps” for instance, are attractive but lethal and survive by luring victims to fall into their traps before consuming them. In an analogy, this is similar to the way people live in our present-day society and being deceived by false values. Such “organic traps” exist within our societies and lure us into temptations and affluence on a dangerous path that can lead to an abrupt end in our freedom and chance for survival instead of the safer path according to the ordinary laws of nature. In creating images associated with carnivorous plants, I have chosen to use the intaglio printing process to produce visual art representation of the life of living organisms in connection with the notion of attraction, temptation and deception through the senses that are lured by beauty on the surface but lethal underneath. Inspired by the facts of nature, I have created the images of organic traps according to my imagination as a case study to arouse self-awareness and caution fellow human beings that “living things survive not because they are the strongest or the most intelligent, but because they are best at adapting in order to cope with changes”. This means that we must lead our lives with mindfulness and be cautious of what is around us in our society and environment so that we may adapt and survive as well as attain inner peace at the same time.
วิทยานิพนธ์หัวข้อ “กับดักรูปอินทรีย์” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพแห่งวิถีการดำเนินชีวิตของสรรพสิ่งอันมีชีวิตบนโลกที่ต่างล้วนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์สิ่งแวดล้อมตามบริบทแห่งธรรมชาติเดียวกัน การดำรงชีวิตโดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการอยู่รอดและการปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่นั้น บ้างถูกกำหนดไว้ให้เป็นตัวเลือกหรือถูกคัดสรรจากธรรมชาติ และบ้างก็สามารถกำหนดความมีตัวตนของตัวเองในธรรมชาติได้ในแบบพึ่งพากันและกัน ในอีกนัยหนึ่งเป็นวิวัฒนาการแห่งการรักษาและดำรงเผ่าพันธุ์ของตนไว้ก็เพื่อมิให้สูญพันธุ์ ดังจะเห็นได้จากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจำพวก “พืช” สิ่งมีชีวิตที่แฝงเร้นกายอยู่ควบคู่ไปกับธรรมชาติ เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร เพื่อให้สิ่งมีชีวิตได้พึ่งพิงพึ่งพาดำเนินชีวิตไปด้วยกันทว่าแฝงนัยแห่งความงามด้วยรูปลักษณ์จากพัฒนาการที่ผิดแปลกหากแต่ดำรงอยู่ได้ในธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนเป็นเสมือนประหนึ่งรูปแบบชีวิตในเชิงศึกษาที่อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมยุคปัจจุบันท่ามกลางสิ่งเย้ายวนอารมณ์แห่งความอยากให้ลุ่มหลง ให้ใฝ่หาและโน้มน้าวให้เคลิบเคลิ้มจากผัสสะภายนอกโดยหารู้ไม่ว่าแท้จริงแห่งรูปลักษณ์ที่เห็นนั้นมีโทษมหันต์เร้นแฝงอยู่ สิ่งที่ปรากฏจึงเป็นดังภาพสะท้อนแห่งอุบายวิธีที่เปรียบได้กับ “พืชกินแมลง” หรือนิยามได้ว่า “กับดับรูปอินทรีย์” ที่แฝงร่วมอยู่เคียงในสังคมมนุษย์หรือเคียงคู่ไปกับวิถีแห่งการดำเนินชีวิตอย่างเมามัว ลุ่มหลงและเพลิดเพลิน “การหลงวัฒน์” ประเด็นสาระเหล่านี้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับคุณลักษณะของพืชพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่วิวัฒน์ “รูปลักษณ์” ให้สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและสร้างรูปแห่งมายาลวงล่อ “รูปอินทรีย์” อันเย้ายวนเป็นกับดักหรือเป็นหลุมพรางแห่งอุบายของพืชพันธุ์ที่โน้มน้าวให้ลุ่มหลงในรูปลักษณ์โดยหารู้ไม่ว่าเพียงแค่ “เปลือก” ความงามนี้จะกลายเป็นสาเหตุแห่งการดับสูญสิ้นซึ่งอิสระและหมดโอกาสในการดิ้นรนเพื่อการมีชีวิตตามที่ควรจะดำเนินไปในกระแสแห่งกาลเวลาอันเป็นกฏธรรมชาติ                อนึ่ง การสร้างจินตภาพในบริบทของวิถีแห่งวิวัฒนาการของพืชกินแมลง โดยนัยนี้จึงเป็นการสร้างสัมฤทธิผลของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์กระบวนการพิมพ์ภาพพิมพ์โลหะร่องลึก (Intaglio Printing Process) ที่อาศัยภาษาของศิลปะหรือทัศนธาตุผสมผสานสร้างมิติลวงตาบนระนาบสองมิติบนพื้นภาพก่อรูปเป็นเอกภาพทางสุนทรียภาพที่สื่อสาระเนื้อหาด้วยรูปลักษณ์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับ “พันธุ์ไม้กินแมลง” แต่ทว่าเป็นรูปแบบของสิ่งมีชีวิตในบริบทจินตนาการหรือด้วยกลวิธีทางทัศนศิลป์รวมถึงเจตนาสร้างให้เป็นดังรูปแทนหรือภาพสะท้อนวิถีของการดำรงชีวิตที่ประมาทลุ่มหลงในผัสสะแห่งรูป รส กลิ่น สัมผัสชื่นชมและยินดีเพียงเพราะรูปลักษณ์ที่สวยงามหากทว่าแฝงไว้ด้วยอันตรายที่สามารถทำให้ชีวิตตัวเองนั้นกลับมลายสูญสิ้นสภาพไปโดยปริยาย ข้าพเจ้าได้นำประเด็นสาระแห่งสภาวะของความเป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผ่านจินตนาการด้วยจินตภาพสร้างรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเชิงสมมติอันเป็นรูปธรรมแห่งปฏิสัมพันธ์จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแห่งธรรมชาติและเป็นเสมือนชีวิตเดียวกัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้างรูปลักษณ์ทางกายแห่งหลุมพรางรูปอินทรีย์ด้วยจินตภาพของพันธุ์ไม้กินแมลงที่เปรียบเป็นเสมือนรูปแบบของชีวิตเชิงกรณีศึกษาซึ่งให้หลักคิดกับชีวิตและเป็นนุสติกับตนเองรวมถึงเพื่อนมนุษย์ในสังคมได้ฉุกคิดและตระหนักถึงสาระแห่งความจริงที่ว่า “สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตรอดได้ย่อมไม่ใช่พวกที่แข็งแกร่งที่สุดหรือพวกที่ฉลาดที่สุด แต่ทว่าเป็นพวกที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด” ซึ่งประเด็นโดยนัยเหล่านี้ยังต้องกอปรด้วยกับการใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตที่โน้มน้าวไปสู่ความสุขสงบที่จิตใจ อันเป็นชีวิตที่รู้เท่าทันสอดคล้องกับสภาวะการและสถานการณ์
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2939
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60003214.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.