Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/294
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF NAMING OF THAI FILMS AND CHINESE FILMS
Authors: ศิริพรไพศาล, นลินี
Siripornpaisan, Nalinee
Keywords: การศึกษาเปรียบเทียบ
การตั้งชื่อภาพยนตร์ไทย
การตั้งชื่อภาพยนตร์จีน
COMPARATIVE STUDY
NAMING OF THAI FILMS
NAMING OF CHINESE FILMS
Issue Date: 13-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบสภาพสังคมที่สะท้อนจากการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน โดยเก็บข้อมูลภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีนตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 – 2554 พบชื่อภาพยนตร์ไทย จำนวน 470 ชื่อ และชื่อภาพยนตร์จีน จำนวน 535 ชื่อ ผลการศึกษาจำนวนพยางค์ของชื่อภาพยนตร์ พบว่าภาพยนตร์ไทยนิยมตั้งชื่อภาพยนตร์จำนวน 3 พยางค์ และภาพยนตร์จีนนิยมตั้งชื่อภาพยนตร์จำนวน 4 พยางค์ ด้านโครงสร้างของชื่อภาพยนตร์ พบว่าทั้งภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีนนิยมตั้งชื่อภาพยนตร์โดยใช้โครงสร้างระดับวลี และมีจำนวน 1 องค์ประกอบมากที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อภาพยนตร์กับประเภทของภาพยนตร์ พบว่านิยมใช้คำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างชื่อภาพยนตร์และประเภทของภาพยนตร์ แต่ภาพยนตร์จีนนิยมใช้คำที่สื่อถึงความตลกขบขันโดยตรง ต่างจากภาพยนตร์ไทยที่นิยมตั้งชื่อภาพยนตร์ตลกขบขันโดยการใช้คำแปลกแหวกแนว ส่วนสภาพสังคมไทยและสังคมจีนที่สะท้อนถึงแนวคิดและความเชื่อจากการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีน พบว่าภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จีนมีความเชื่อเกี่ยวกับความรัก แนวคิดเกี่ยวกับการยกย่องวีรชน แนวคิดเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ และแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ และแนวคิดเกี่ยวกับเพศที่สาม The purpose of this independent study is to compare how to name between Thai and Chinese films, Comparative study the state of society reflected from naming of Thai and Chinese films. This study is collected data from Thai and Chinese films from 2001-2011 and found 470 Thai films and 535 Chinese films. The results found that quantity of syllables, Thai films preferred to use 3 syllables and Chinese films preferred to use 4 syllables. The structure of film titles, both Thai and Chinese films preferred to use the phrase structure and 1 component. The relationships between film titles and type of film found that Chinese films preferred to use words that directly concerned with comedy films. Unlike Thai films preferred to use unusual words. The state of society that reflects the concepts and beliefs from Thai and Chinese films had similar belief of love, concept of praised heroes, concept of using symbols and concept of way of life. However, belief of religion and supernatural and concept of transgender were different.
Description: 54208305 ; สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ --นลินี ศิริพรไพศาล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/294
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54208305 นลินี ศิริพรไพศาล.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.