Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2946
Title: Creative painting Project from Dvaravati art style 
โครงการจิตรกรรมสร้างสรรค์ความงามจากรูปแบบศิลปะทวารวดี 
Authors: Thankrmol KHRUARAT
แทนกมล เครือรัตน์
Vichaya Mukdamanee
วิชญ มุกดามณี
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: ความทรงจำร่วม
ทวารวดี
สังคมไทย
Collective Memory
Dvaravati
Thai society
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The researcher started his creation from the question about the ancient sites in Nakhon Pathom Province. Ruins, which did not get the attention of the surrounding community. It is an inspiration for researchers  to study those ancient sites. Results from the study showed that the ancient archaeological site in Nakhon Pathom that Tawaravadee aged around like Century 11 , which was initially embraced Buddhism came to land at Suvarnabhumi and source of Buddhist art in Thailand. According to history Before becoming Phra Pathom Chedi in the present, it used to be a stupa in the abandoned mound of Dvaravati period before and Was built over a pagoda in the Sukhothai period by Phra Maha Sangha Sri Satha Is the lineage of King Srinawanathum As shown in the second main inscription, Wat Si Chum And was built over again by King Mongkut, Rama IV, there is evidence indicating the nature of the original chedi was described by the poet Ekamai at that time, Sunthorn Phu appeared in Niras Phra Prathom. The chedi was completed during the reign of King Rama VI, the Dvaravati Archaeological Site was established as the Phra Prathom Chedi, which will have ( Collective Memory) or collective memory. This collective memory is the one that ties together a group of people, and this kind of memory people can feel through the rituals performed every year. From here, the researcher can see that the reason that the other Dvaravati archaeological sites around Nakhon Pathom are not maintained by the surrounding communities is because they are not. Joint memories ( Collective Memory) with the community and aligned with the idea of Maurice Halbwachs , researcher of On Collective Memory , that memories are not connected to people or communities. Is like a broken memory That is the source of the creativity of the researcher From the origin and importance, the researcher created 3 sets of works of art , each of which has a different purpose in presenting. Set 1 (On Collective Memory) Issues in the presentation of this series are This is a collective memory cut to point out the disconnect between the Dvaravati memories and the memories of the community today. The medium used by the researcher to create is drawing lines on paper, and the Charcoal technique is used to represent the fading of memories that have passed the time, then erase the archaeological features in the middle of the image in order to convey disconnection. And during the joint memories of Dvaravati With the memory of the community today, set 2 (Memory in a new body), the point of communication in this series is to put the collective memories in the Dvaravati relief sculpture into Researcher's artwork In order to keep the memories of Dvaravati going on It shows that Dvaravati memories play a part in the memories of Thai society in the third set (The Same Memory). It is the creation of works to show the relationship between past and present memories that both Couples set each other Researchers shape ( on Form) with the space ( the Space) as a tool to convey in order to demonstrate that memories of Dvaravati the scope of Thailand today. And Thai society keeps the memories of Dvaravati still alive The two determine each other inseparable. From the conclusions in this work, it shows how important Dvaravati is to Thai society.
ตัวผู้วิจัยเริ่มต้นการสร้างสรรค์จากคำถามเกี่ยวกับโบราณสถานต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐมที่เหลือเพียงซาก ปรักหักพังซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนโดยรอบ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้วิจัยศึกษาเกี่ยวโบราณสถานเหล่านั้น ผลจากการศึกษาพบว่าโบราณสถานในนครปฐมนั้นเป็นโบราณสถานสมัยทวาราวดี อายุราว ๆ พุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งเป็นยุคแรกที่รับเอาพุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิและเป็นต้นกำเนิดของพุทธศิลป์ในประเทศไทย ตามประวัติแล้วก่อนที่จะมาเป็นองค์พระปฐมเจดีย์ในปัจจุบันเดิมเคยเป็นสถูปเนินดินร้างสมัยทวารวดีมาก่อนและ ถูกก่อทับเป็นปรางค์ในสมัยสุโขทัยโดย พระมหาเถรศรีศรัทธา เป็นเชื้อสายของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ตามที่ปรากฎในจารึกหลักที่ 2 วัดศรีชุม และถูกก่อทับอีกรอบโดย พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 มีหลักฐานที่บ่งบอกถึงลักษณะของเจดีย์องค์เดิมถูกบรรยายไว้โดยกวีเอกใมสมัยนั้นคือ สุนทรภู่ ปรากฏในนิราศพระประธม ซึ่งตัวเจดีย์ดังกล่าวแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โบราณสถานทวาราวดีถูกสถาปนาเป็นองค์พระประฐมเจดีย์ ซึ่งจะมี (Collective Memory) หรือความทรงจำร่วม ซึ่งความทรงจำร่วมนี้เองเป็นตัวที่ร้อยเรียงกลุ่มคนเข้าไว้เป็นพวกเดียวกันและความทรงจำราวนี้ผู้คนจะสามารถสัมพัสได้จากพิธีกรรมที่กระทำทุกปี จากตรงนี้ทำให้ตัวผู้วิจัยได้เห็นว่าเหตุผลที่โบราณสถานทวารวดีอื่น ๆ รอบจังหวัดนครปฐมไม่ได้รับการดูแลจากชุมชนโดยรอบเพราะว่าโบราณสถานเหล่านั้นไม่ได้มี ความทรงจำร่วม (Collective Memory)  กับชุมชนและสอดคลองกับแนวความคิดของ Maurice Halbwachs ผู้วิจัยหนังสือ On Collective Memory กล่าวไว้ว่า ความทรงจำที่ไม่สัมพันธุ์กับคนหรือชุมชน เป็นเหมือนความทรงจำที่แตกสลาย นั้นจึงเป็นที่มาในการสร้างสรรค์ของตัวผู้วิจัย จากที่มาและความสำคัญตัวผู้วิจัยจึงสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะออกมาเป็นจำนวน 3 ชุดซึ่งแต่ละชุดจะมีจุดหมายในการนำเสนอที่แตกต่างกันไป ชุดที่ 1 (On Collective Memory) ประเด็นในการนำเสนอของชุดนี้จะเป็นการตัดความทรงจำร่วมเพื่อชี้ให้เห็นถึงความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างความทรงจำทวารวดีกับความทรงจำของชุมชนในปัจจุบัน สื่อที่ตัวผู้วิจัยใช้ในการสร้างสรรค์เป็นเทคนิคพื้นฐานทางด้านจิตรกรรมทำให้ปรากฎรูปโดยการวาดเส้นบนกระดาษ(Drawing)ด้วยเทคนิคชาโคลที่ใช้สื่อแทนความเลือนลางของความทรงจำที่ผ่านกาลเวลาเพราะด้วยคุณสมบัติของท่าถ่านชาโคลนั้นสามารถหลุดเลือนออกได้เหมือนกับแนวความคิดของตัวผู้วิจัย แล้วลบจุดเด่นที่เป็นโบราณสถานกลางรูปออกเพื่อที่จะสื่อถึงความไม่เชื่อมโยงกับระหว่างความทรงจำร่วมของทวารวดี กับความทรงจำของชุมชนในปัจจุบัน ชุดที่ 2 (Memory in a new body) ประเด็นที่ใช้ในการสื่อสารในชุดนี้คือการเอาความทรงจำร่วมที่อยู่ในรูปประติมากรรมนูนต่ำสมัยทวาราวดีมาใส่ลงไปในผลงานศิลปะของตัวผู้วิจัย เพื่อเป็นการรักษาความทรงจำทวารวดีให้ยังคงอยู่ต่อไป และแสดงให้เห็นว่าความทรงจำทวาราวดีมีส่วนกำหนดความทรงจำของสังคมไทย ในชุดที่ 3 (The Same Memory) เป็นการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างความทรงจำของอดีตและปัจจุบันว่าทั้งคู่กำหนดซึ่งกันและกัน ผู้วิจัยรูปร่าง(Form)กับที่ว่าง(Space)เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าความทรงจำของทวารวดีมีส่วนกำหนดขอบเขตของสังคมไทยในปัจจุบัน และสังคมไทยก็ทำให้ความทรงจำทวารวดียังคงอยู่ ทั้งสองกำหนดซึ่งกันและกันแยกออกจากกันมิได้ จากข้อสรุปในตัวผลงานชุดนี้เองเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าทวารวดีมีความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2946
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61001203.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.