Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2959
Title: FACTORS AFFECTING WALKABILITY:  A CASE STUDY OF ALLEYSIN PRA NAKHON DISTRICT
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้า กรณีศึกษา ตรอกในเขตพระนคร
Authors: Pattarawadee PECHPRAKOB
ภัทราวดี เพชรประกอบ
Singhanat Sangsehanat
สิงหนาท แสงสีหนาท
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้า
ความน่าเดิน
เส้นทางเดินเท้า
ตรอกในเขตพระนคร
Factors Affecting Walkability
Walkability
Pathway
Alleys in Pra Nakhon
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract:         Alleys are considered to be significant walkway in old towns which presents uniqueness and historical stories in the habitation and evolution of the community. Alleys present attractiveness to people and alleys are commonly used as public walkway to access to residence and main streets. The alleys in Phra Nakhon, Bangkok were constructed along with the evolution of settlement. Alleys are also considered as public walkway of ​​urban communities which presents attractiveness to the city.          The research aimed to study factors which affect walking in the alleys of Phra Nakhon, Bangkok by conducting the study of walking alleys and searching for the physical elements affecting decision to walk. This research was conducted to study the concept of walking, alleys, public spaces, including ideas to build community through urban design. According to the analysis of the factors influencing walking in the alleys, it can be concluded that there are five factors influencing walking on the alleys in Phra Nakhon: environment, accessibility, connectivity, convenience and safety.          The study found that the alleys in Phra Nakhon consist of 5 factors; however, the pleasure of people to walk in each type of the alley is different due to usability. The alleys which are useful and considered as public community are the most popular. The less popular alleys are the commercial ones and the ones used as a shortcut. The alleys in Phra Nakhon were divided into 3 types: community alley, market alley, and shortcut alley. The alleys in Phra Nakhon could also be found in other two types of mixed-use ones: community and markets, community and shortcuts. Each type has its own characteristics, resulting in popularity to walk. The researcher sincerely hopes that this research will be useful to conserve walking alleys in Thai society and used as a guideline for further development of the walking alleys
          ตรอกเป็นเส้นทางเดินเท้าที่สำคัญในย่านเมืองเก่าชุมชนเก่าที่มีเอกลักษณ์และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในการอยู่อาศัยและวิวัฒนาการของชุมชน ตรอกเป็นเส้นทางเดินเท้าที่มีเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองและเป็นพื้นที่สาธารณะทางสังคมที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองที่ถูกใช้เป็นเส้นทางสัญจรเข้าถึงพื้นที่ที่อยู่อาศัยและเชื่อมต่อกับถนนสายหลักของเมือง ตรอกในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางเดินเท้าที่เกิดขึ้นพร้อมกับวิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานในอดีตที่แทรกตัวอยู่ในพื้นที่ของชุมชนเมือง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ทางสังคมของชุมชนเมืองในบริบทของสังคมไทยที่สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้าในตรอกเขตพระนคร ทำการศึกษาเส้นทางเดินเท้าในตรอกและค้นหาองค์ประกอบทางกายภาพที่ส่งผลต่อความน่าเดิน การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีการเดินเท้า ตรอกในการเดินเท้า  ลักษณะพื้นที่ว่างและพื้นสาธารณะรวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบชุมชนเมืองน่าเดิน จากการศึกษาและวิเคราะห์ค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้าในตรอก สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินเท้าในตรอกเขตพระนคร มี 5 ประการ ได้แก่ สภาพแวดล้อม, การเข้าถึงและการเชื่อมโยง, ความสะดวกสบาย, ความปลอดภัย, ความหลากหลาย ส่งผลให้ตรอกในเขตพระนครมีความน่าเดิน             ผลการศึกษาพบว่า  ตรอกในเขตพระนครมีปัจจัยร่วมกันทั้ง 5 ประการ อย่างไรก็ดี มีค่าคะแนนความน่าเดินมากและน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานของเส้นทางเดินในตรอก ตรอกที่มีการใช้งานพื้นที่ที่หลากหลายมีลักษณะที่เป็นอเนกประโยชน์ เป็นพื้นที่สาธารณะทางสังคมมีลักษณะทางกายภาพเป็นตรอกชุมชน จะมีค่าคะแนนความน่าเดินรวมมากตามลำดับ ส่วนตรอกที่มีระดับค่าคะแนนรองลงมา ได้แก่ ตรอกที่มีกิจกรรมการค้าและตรอกที่ใช้เป็นเส้นทางลัด ผู้วิจัยได้แบ่งประเภทของตรอกในเขตพระนครตามการใช้งานพื้นที่เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ตรอกชุมชน ตรอกตลาด ตรอกเส้นทางลัด และยังพบตรอกที่มีการใช้งานพื้นที่แบบผสมผสานอีก 2 ประเภท  ได้แก่ ตรอกชุมชนและตลาด ตรอกชุมชนและเส้นทางลัด แต่ละประเภทมีปัจจัยที่มีลักษณะที่สำคัญเฉพาะแตกต่างกันไป ส่งผลให้ตรอกนั้น ๆ มีความน่าเดิน ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการรักษาเส้นทางเดินเท้าในตรอกให้คงอยู่คู่สังคมไทยและเป็นแนวทางในการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าในตรอกต่อไป
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2959
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60051204.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.