Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2967
Title: | A Study of The Bronze Buddha Images in Phrae and Nan During 14th - 16th A.D. การศึกษาพระพุทธรูปสำริดในจังหวัดแพร่และจังหวัดน่านช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-21 |
Authors: | Parinya NAKWATCHARA ปริญญา นาควัชระ SAKCHAI SAISINGHA ศักดิ์ชัย สายสิงห์ Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | พระพุทธรูป แพร่ น่าน ศิลปะล้านนา สุโขทัย Buddha Image Phrae Nan Lanna Art Sukhothai |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to study style and age of Bronze Buddha Images in Phrae Province and Nan Province between 14th century A.D. to 16th century A.D., the study focused in 108 Bronze Buddha Images from Amphoe Muang Phrae; Amphoe Sung Men; Amphoe Long, Phrae Province, Amphoe Muang Nan; Amphoe Wiang Sa; Amphoe Phu Piang; Amphoe Mae Charim; Amphoe Santi Suk; Amphoe Pua and Amphoe Tha Wang Pha, Nan Province.
The results are presented 2 periods of Bronze Buddha Images as follows:
Period 1 (middle 14th century A.D. to late 15th century A.D.), Phrae and Nan were concerned with Sukhodaya Kingdom, there were 1 group of Bronza Buddha Images as Buddha Image under Sukhodaya Art (Big Style)
Period 2 (early 16th century A.D. to early 17th century A.D.), Phrae and Nan were combined with Lanna Kingdom by King Tilokaraj, there were 4 groups of Bronze Buddha Images as 1. Phrae Style (Buddha Images in the Phrae Characteristic) 2. Nan Style (Continuation of Sukhodaya Style in Nan) 3. Buddha Images under “Singhalese Buddha” (Lanna Buddha Images in vajrasana) and 4. Buddha Images under Late Lanna Style (Lanna Buddha Images in virasana)
The results are indicated that ancient Phrae city and ancient Nan city were concerned with Sukhodaya and Lanna Kingdom, there were obtained styles of 2 kingdoms to use in their Bronze Buddha Images. Furthermore, In Lanna gold age (the age of King Tilokaraj to King Muangkaeo) Phrae and Nan were built Bronze Buddha Images in the own characteristic. The Nan-Phrae School finished when Lanna Kingdom fell. วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปะ และกำหนดอายุพระพุทธรูปสำริดที่มีรูปแบบเฉพาะในพื้นที่จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 21 โดยศึกษาจากตัวอย่างพระพุทธรูปจำนวน 108 ตัวอย่าง ที่สำรวจพบในเขตอำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา อำเภอภูเพียง อำเภอแม่จริม อำเภอสันติสุข อำเภอปัว และอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธรูปสำริดในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 20) เป็นระยะที่เมืองแพร่-เมืองน่าน มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย ระยะนี้ปรากฏการสร้างพระพุทธรูป 1 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ ระยะที่ 2 (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22) เป็นระยะที่เมืองแพร่-เมืองน่าน ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา ระยะนี้ปรากฏการสร้างพระพุทธรูป 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มสกุลช่างเมืองแพร่ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว 2. กลุ่มสกุลช่างเมืองน่าน ซึ่งสืบเนื่องต่อจากกลุ่มพระพุทธรูปแบบสุโขทัยที่ปรากฏในเมืองน่านตั้งแต่ระยะที่ 1 3. กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา และ 4. กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปขัดสมาธิราบในศิลปะล้านนา จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าเมืองแพร่และเมืองน่านในอดีต มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรล้านนา จึงมีการรับอิทธิพลทางศิลปะของทั้ง 2 อาณาจักรนี้ มาใช้กับงานพระพุทธรูปสำริดของตน นอกจากนี้ ในยุคทองของอาณาจักรล้านนา ทั้งเมืองแพร่และเมืองน่าน ก็มีการสร้างพระพุทธรูปสำริดในสกุลช่างที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง โดยพระพุทธรูปสำริดในสกุลช่างน่าน-แพร่ คงเสื่อมไปเมื่ออาณาจักรล้านนาล่มสลาย |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2967 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59107204.pdf | 12.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.