Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2971
Title: AN ANALYTICAL STUDY OF WORDS FORMATION IN SUANDARANANDABASED ON ASTADHYAYI OF PANINI
การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างคำในมหากาพย์เสานทรนันทะตามหลักคัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ
Authors: Komon KAEODUENG
โกมล แก้วดึง
Paramat KHAM-EK
ปรมัตถ์ คำเอก
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: กระบวนการสร้างคำ, คัมภีร์อัษฏาธยายี, ปาณินิ, อัศวโฆษ, มหากาพย์เสานทรนันทะ
WORDS FORMATION ASTADHYAYI PANINI ASVAGHOSA SAUNDARANANDA
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research article has objectives for 1) studying the history and achievement of Panini and Asvaghosa. 2) studying the texts and the form of poetry and Alankara in Saundarananda Text. 3) Studying the process of word formation follows by Astadhyayi that is Panini’s Work, poetry and Alankara in Saundarananda Text. The research article is the qualitative research with documentary research that has explored the process of word formation in Saundarananda Text that follows by Astadhyayi which is Panini’s Work as the case study namely; colleting primary data and secondary data and studying the data by content analysis. The findings revealed that;                      1. Panini lived in 400 BC., born in Brahmin known as Panini family. His great work was Astadhayayi. Sanskrit is the well-formed language in pronounce, letter and grammatical principle. Panini had formulated the original grammatical scripture used linguistics known as a standard Sanskrit father. This work still has been described as basic theory of modern linguistics which influenced to mathematics, phonology and Indian philosophy.                      2. Venerable Asvaghosa lived between 50 BC to 100 AC. He was the first poet who compiled Sanskrit play, and therefore being known as the father of Sanskrit play. He also deployed Sanskrit grammar to decorate his poetic grammar such as Buddhacarita, Saunadarananda etc. which has been praised as great epic influenced to prosperity of Sanskrit literature in later period.                      3. The word forming texts in modern time such as grammar became easier, but found no clear as seen in Sutra reference or traditional texting. Prosody in Saundarananda included the first, second and third Sarga contains 169 verses consisting of various types; 1) Anustuphchanda containing 8 syllables, 2) Tristuphchanda 11 syllables, 3) Atijagati 13 syllables, 4) Sakvarichanda 14 syllables, 5) Vagavallabhachanda with inequal grouped verses, 6) Upajati or half equal grouped verse. Alankara or ornament consists of 2 types; 1) Sound ornament consisting of complete 10 types such as Prasaradaguna etc., 2) Meaning ornament contains 3 types; (1) Rupakalankara describing the identity of Upamana and Upameyya, (2) Upamalankara comparing the similarity of two things, (3) Rasi-alankara or the taste ornament which creates the various tastes such as Sringararasa etc.
 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของปาณินิและพระอัศวโฆษ 2) เพื่อศึกษาบทต่าง ๆ ลักษณะของฉันทลักษณ์และอลังการในมหากาพย์เสานทรนันทะ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างคำตามหลักไวยากรณ์คัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ ฉันทลักษณ์ และอลังการในมหากาพย์เสานทรนันทะ บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) กรณีศึกษาคือกระบวนการสร้างคำในมหากาพย์เสานทรนันทะตามหลักคัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ ได้มาโดยการเก็บรวมรวบเอกสารข้อมูลทั้งชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)               ผลการวิจัยพบว่า               1.  ปาณินิมีชีวิตอยู่ในช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. เกิดในสกุลพราหมณ์ มีชื่อว่า ปาณินิ ท่านมีผลงานคือคัมภีร์อัษฏาธยายี ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ละเอียดผ่านการคัดกรองมาอย่างดี ทั้งเสียง อักษร และหลักไวยากรณ์ จนได้รับยกย่องเป็นบิดาภาษาสันสกฤตมาตรฐาน ผลงานของท่านยังคงเป็นต้นแบบที่เป็นพื้นฐานของทฤษฎีทางภาษาศาสตร์สมัยใหม่ มีอิทธิพลต่อหลักคณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์และปรัชญาอินเดีย               2.  พระอัศวโฆษมีชีวิตอยู่ระหว่าง 50 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 100 เป็นกวีคนแรกที่แต่งบทละครสันสกฤต ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งบทละครสันสกฤต ท่านได้นำไวยากรณ์สันสกฤตมาพัฒนาต่อยอดผลิตผลของไวยากรณ์ในรูปของบทกวี เช่น พุทธจริต เสานทรนันทะ เป็นต้น จนได้รับยกย่องว่าเป็นมหากาพย์ที่มีอิทธิพลต่อความเจริญรุ่งเรืองของวรรณคดีสันสกฤตในสมัยต่อมา              3.  กระบวนการสร้างคำตามตำราเรียนในปัจจุบันเป็นการทำให้ง่ายขึ้นสำหรับการเรียนไวยากรณ์สันสกฤตแบบใหม่ ซึ่งไม่ละเอียดเหมือนกระบวนการสร้างคำแบบอ้างอิงสูตรปาณินิ ส่วนฉันทลักษณ์ในมหากาพย์เสานทรนันทะ สรรคที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 169 โศลก มีฉันท์ประเภทต่าง ๆ คือ 1) อนุษฏุภฉันท์ 8 พยางค์ 2) ตริษฏุภฉันท์ 11 พยางค์ 3) อติชคตีฉันท์ 13 พยางค์ 4) ศักวรีฉันท์ 14 พยางค์ 5) วาควัลลภฉันท์ โศลกที่มีคณะไม่เท่ากัน 6) อุปชาติ โศลกที่มีคณะเสมอกันครึ่งหนึ่ง และอลังการมี 2 ประเภท คือ 1) อลังการทางเสียง มีครบทั้ง 10 ประเภท มี ปรสารทคุณ เป็นต้น  2) อลังการทางความหมาย มี 3 ประเภท คือ (ก) รูปกาลังการ การแสดงความเป็นสิ่งเดียวกันระหว่างอุปมานะและอุปไมย (ข) อุปมาลังการ การเปรียบเทียบความเหมือนกันระหว่างสิ่งสองสิ่ง (ค) รสีอลังการ อลังการมีอรรถรส กล่าวคือแต่งให้เกิดรสต่าง ๆ มีศฤงคารรสเป็นต้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2971
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61116805.pdf39.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.