Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2973
Title: DESIGN AND DEVELOPMENT OF TOURISM’S ICONIC SOUVENIR FOR THE FIRST ROYAL FACTORY AT FANG MUSEUM
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว ในพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
Authors: Nutthaporn LAOSUWAN
ณัฐพร เล้าสุวรรณ์
RATTHAI PORNCHAROEN
รัฐไท พรเจริญ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
ร้านค้าพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)
SOUVENIRS DESIGN
MUSEUM SHOP
THE FIRST ROYAL FACTORY AT FANG MUSEUM
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) to survey consumers’ demand over the souvenirs of the First Royal Factory at Fang Museum, 2) to design and develop tourism’s iconic souvenir for the First Royal Factory at Fang Museum, and 3) to evaluate consumers’ satisfaction with the souvenirs designed by the researcher. The method of this research was conducted to meet the research objectives as follows: 1) Data were collected using open-ended questionnaire from museum staff and consumer demand data were collected from the sample consumers and tourists visiting the First Royal Factory at Fang Museum. The data collection duration was 3 days.  The number of respondents was 30. The sample was selected based on a simple random sampling. The research instruments were a checklist questionnaire and rating scale questionnaire, 2) questionnaire on opinions and suggestions from 3 product design experts, 1 marketing expert and 1 museum specialist. The key informants were selected based on a purposive sampling. The research tool was also rating scale questionnaire, 3) satisfaction survey on the designed souvenirs. The respondents were 110 tourists visiting the First Royal Factory at Fang Museum. The data collection duration was 1 week. They were selected based on a simple random sampling. The research tools were rating scale questionnaire. Data were analyzed using statistics, including average and standard deviation to measure consumers’ satisfaction. Analyzed data were then processed using descriptive statistics. The results of this research indicated that the sample consumers had the highest level of their satisfaction with the designed souvenir under the scoring criteria of 1 = beauty, 2= usefulness, 3= portability, 4= personal use or purchase as souvenir, and 5= suitability. The levels of satisfaction were ranked as follows: The first rank was "Ben - Bennie" screen printed canvas bag set with (x̄  = 4.48) (S.D. = 0.72) The second rank was "Beranie" scarf with a dimension of 1x1 m at (x̄ = 4.34) (S.D. = 0.75) The third rank was "Bamblue" stationery shelf organizer at (x̄ = 4.06) (S.D. = 0.93) The fourth rank was "Birds in Blue" desk lamp at (x̄ = 4.03) (S.D. = 0.94) The fifth rank was "Bulbul" 5x7 inches picture frame at (x̄ = 3.70) (S.D. = 1.03)
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อจัดจำหน่ายในร้านค้าพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายในพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบ โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิดสอบถาม เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ และเก็บข้อมูลความต้องการผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย นักท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) โดยใช้เวลา 3 วัน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประเมินค่า 2) สอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จำนวน 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญประจำพิพิธภัณฑ์จำนวน 1 ท่าน ใช้วิธีเลือกโดยเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 3) สอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ผู้วิจัยออกแบบ ได้แก่ นักท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ มีผู้เข้ามาตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 110 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อวัดผลความพึงพอใจของผู้บริโภค แล้วจึงนำมาแปรผลโดยการบรรยาย สรุปผลความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ที่ระลึกแต่ละชิ้น โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนจาก 1. มีความสวยงามและสื่อถึงพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) 2. มีประโยชน์ใช้สอยเหมาะสม 3. มีความสะดวกในการพกพา 4. มีความเหมาะสมในการซื้อใช้เองหรือซื้อฝากผู้อื่น 5. มีรูปแบบเหมาะสม ที่จะจัดจำหน่ายในร้านค้าพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ซึ่งเรียงลำดับผลความพึงพอใจ ดังนี้ อันดับที่ 1 “Ben - Bennie” เซตกระเป๋าผ้าดิบพิมพ์ลาย ความพึงพอใจระดับมาก (x̄ = 4.48) (S.D. = 0.72) อันดับที่ 2 “Beranie” ผ้าพันคอ ขนาด 100x100 ซม. ความพึงพอใจระดับมาก (x̄ = 4.34) (S.D. = 0.75) อันดับที่ 3 “Bamblue” ที่จัดวางอุปกรณ์เครื่องเขียนบนโต๊ะทำงาน ความพึงพอใจระดับมาก (x̄ = 4.06) (S.D. = 0.93) อันดับที่ 4 “Birds in Blue” โคมไฟตั้งโต๊ะ ความพึงพอใจระดับมาก (x̄ = 4.03) (S.D. = 0.94) อันดับที่ 5 “Bulbul” กรอบรูปสำหรับใส่รูปภาพขนาด 5x7 นิ้ว ความพึงพอใจระดับมาก (x̄ = 3.70) (S.D. = 1.03)
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2973
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59155307.pdf17.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.