Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2991
Title: The humor in TOEY-TIEW-THAI
อารมณ์ขันในรายการเทยเที่ยวไทย
Authors: Sasiwimol SANGUANPONG
ศศิวิมล สงวนพงษ์
SUNTAREE CHOTIDILOK
สุนทรี โชติดิลก
Silpakorn University. Arts
Keywords: อารมณ์ขัน
เทยเที่ยวไทย
บทบาทหน้าที่
Humor
TOEY-TIEW-THAI
Function
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This independence thesis is part of the independent study, Thai for Career Development, department of Thai, Graduated School, Silpakorn University. The purpose of this study is the strategy to create the language for the humor in Thai television program named Toey-Tiew-Thai, especially the episode was broadcasted on ONE HD 31 channel since September to December in 2018. There are 13 episodes. This can conclude the strategy for humor creation total 323 times, which found 76 times in the strategies for using vocal and words to create the humor. They could be categorized as follows; 1) Using of rhythm found 6 times 2) Using of foreign accent found 3 times 3) Sound distortion found 23 times 4) Mixing language found 3 times 5) Synonyms found 17 times 6) Spoonerism found 10 times 7) Dialect found 13 times and 8) Equivocation found 1 time. However, Sound distortion is the most apparent strategy to use and this result is harmonize with the theory of relaxation. The strategy for creating the humor of content creation found 247 times. They could be categorize as follows; 1) Content creation about courtship found 10 times 2) Content creation about obscene found 49 times 3) Content creation about imitation found 169 times and 4) Content creation about sarcasm and satire found 19 times Nevertheless, Content creation about imitation is the most apparent strategy to use and this result is harmonize with the theory of relaxation. This studied may conclude that language is a part of content creation for humor and they have many functions of humor, which are in Toey-Tiew-Thai can be categorize as follows; 1) The humor can support the human relations and intimate with others. 2) The humor can resolve immediately the situation or problem and 3) The humor can amuse creation.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลวิธีทางการใช้ภาษาเพื่อสร้างอารมณ์ขัน ในรายการ “เทยเที่ยวไทย” โดยคัดเลือกเฉพาะตอนที่มีการแข่งขัน “Wanna be contest 2018” เท่านั้น ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 13 ตอน ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันได้ทั้งหมด จำนวน 323 ครั้ง โดยกลวิธีในการสร้างอารมณ์ขันด้านการใช้เสียงและการใช้คำเพื่อสร้างอารมณ์ขันพบทั้งหมด 76 ครั้ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1) การใช้เสียงสัมผัส พบ 6 ครั้ง, 2) การใช้สำเนียงภาษาต่างประเทศ พบ 3 ครั้ง, 3) การเพี้ยนเสียง พบ 23 ครั้ง, 4) การปนภาษา พบ 3 ครั้ง, 5) การใช้คำพ้อง พบ 17 ครั้ง, 6) การใช้คำผวน พบ 10 ครั้ง, 7) การใช้คำภาษาถิ่น พบ 13 ครั้ง และ 8) การใช้คำสองแง่สองง่าม พบ 1 ครั้ง ซึ่งกลวิธีที่พบมากที่สุดในด้านการใช้ภาษาเพื่อสร้างอารมณ์ขัน คือ การเพี้ยนเสียง และกลวิธีดังกล่าวยังสอดคล้องกับทฤษฎีความผ่อนคลายมากที่สุด ส่วนกลวิธีการสร้างเนื้อหาเพื่อสร้างอารมณ์ขันพบทั้งหมด 247 ครั้ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1) การสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสี พบ 10 ครั้ง, 2) การสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องสัปดน พบ 49 ครั้ง, 3) การสร้างเนื้อหาเพื่อล้อเลียน พบ 169 ครั้ง และ 4) การสร้างเนื้อหาเพื่อการประชดประชันและเหน็บแนม พบ 19 ครั้ง ซึ่งกลวิธีที่พบมากที่สุดในกลวิธีการสร้างเนื้อหาเพื่อสร้างอารมณ์ขัน คือ การสร้างเนื้อหาเพื่อล้อเลียน และกลวิธีดังกล่าวยังสอดคล้องกับทฤษฎีความผ่อนคลายมากที่สุด จะเห็นได้ว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างเนื้อหามาสร้างอารมณ์ขัน และอารมณ์ขันก็มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งบทบาทหน้าที่ของอารมณ์ขันที่พบในรายการ “เทยเที่ยวไทย” สามารถแบ่งได้ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) อารมณ์ขันเป็นเครื่องมือเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ และสร้างความสนิทสนมกับคนแปลกหน้า (2) อารมณ์ขันเป็นเครื่องมือแก้ไขสถานการณ์หรือปัญหาเฉพาะหน้า (3) อารมณ์เป็นเครื่องมือสร้างความสนุกสนาน
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2991
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60208313.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.