Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/30
Title: | การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ |
Other Titles: | A STUDIES OF LEARNING ACHIEVEMENT AND PROBLEM SOLVING ABILITIES ON THAI SOCIETY OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS USING BLENDED LEARNING THROUGH PROBLEM BASED LEARNING AND SOCIAL NETWORK |
Authors: | ศุภรัตนาวงศ์, อิทธิพัทธ์ |
Keywords: | ความสามารถในการแก้ปัญหา/การเรียนรู้แบบผสมผสาน/ปัญหาเป็นฐาน/สังคมออนไลน์ PROBLEM SOLVING ABILITIES/BLENDED LEARNING/ PROBLEM BASED LEARNING /SOCIAL NETWORK |
Issue Date: | 2-Aug-2559 |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 (ราชบุรี – กาญจนบุรี) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ 2) บทเรียนในสังคมออนไลน์ Edmodo 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับสูง 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to : 1) compare the learning achievement on Thai society of Mathayomsuksa 3 students before and after using blended learning through problem based learning and social network; 2) study the problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students before and after using blended learning through problem based learning and social network and 3) study the opinions of Mathayomsuksa 3 students before and after using blended learning through problem based learning and social network. The sample of this research consisted of 50 Mathayomsuksa 3 students studying in the first semester of the academic year 2015 at Rattanaratbumrung School, Banpong District, Ratchaburi Province of the Office of Secondary School District 8. The instruments employed to collect data were : 1) lesson plans; 2) lesson on social network Edmodo; 3) a learning achievement test; 4) a problem solving abilities test and 5) a questionnaire on the opinion of students about using blended learning through problem based learning and social network. The data were analyzed by mean (x ̅) standard deviation (S.D.) t-test dependent and content analysis. The findings were as follows: 1. The learning achievement on Thai society of Mathayomsuksa 3 students gained after the participation using blended learning through problem based learning and social network was significantly higher than before at the .05 level. 2. Problem solving abilities of Mathayomsuksa 3 students using blended learning through problem based learning and social network were high level. 3. The opinions of Mathayomsuksa 3 students towards using blended learning through problem based learning and social network were at the high level. |
Description: | 54262319 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/30 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ อิทธิพัทธ์.pdf | 4.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.