Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3018
Title: DEVELOPMENT OF A LOCAL WISDOM KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL TO ENHANCE ECONOMIC VALUED - ADDED TEXTILE PRODUCTS BASED ON THAI - YUAN ETHNIC GROUPS IN MID CENTRAL PROVINCIAL CLUSTER
การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาติพันธุ์ไทยยวน กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง
Authors: Wararat WATTHANACHANOBON
วรารัตน์ วัฒนชโนบล
Nopporn Chantaranamchoo
นพพร จันทรนำชู
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการจัดการความรู้
มูลค่าเพิ่ม
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
ชาติพันธุ์ไทยยวน
Knowledge Management Model
Value-Added
Textile Products
Thai-Yuan Ethnic
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research are 1. To study knowledge and local knowledge management. 2. To develop a model. 3. To prove the model. 4. To evaluate the use of the local wisdom knowledge management model to enhance economic valued - added textile products based on thai - yuan ethnic groups in the mid-central provincial cluster. This research used to research and development methodology. The key informants are the village’s philosopher, community enterprise entrepreneurs, academics, and government officials, totaling 52 people. The sample groups are 400 OTOP products buyers. The tools used for data collection were In-depth interviews, group discussion, and quantitative data analysis and questionnaire with frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative data analysis used in the grounded theory of content analysis and data synthesis. The results of the research found that 1. Phajok is the local wisdom that showed the identity of ethnic groups and inherited as a heritage of arts and crafts. The source of knowledge and local wisdom are 1) knowledge that has been pass on from ancestors 2) knowledge that is within the trained and practiced person. 3) Knowledge supported by government agencies and 4) knowledge developed into group-specific knowledge. 2. The components for the local wisdom knowledge management model, consist of 1) Participation in learning and inheriting local knowledge, 2) local wisdom knowledge management, 3) Socio-Geography of ethnic groups, and 4) Creating product value to increase value. As the conditions of succession that consist of 1) manufacturer development, 2) Phajok market development, 3) leadership, 4) Network collaboration in knowledge management, and 5) Product development collaboration. 3. Model experimentation by workshops, which are 1) Reviewing knowledge based on the components of a model 2) Analyzing the learning steps 3) Developing product prototypes and 4) Assessing product model satisfaction. 4. Evaluation of the use of the model found that 1) there was participation in learning and inheriting local wisdom 2) local wisdom knowledge management is the basic element of creating new products that maintain identity and meet the consumers' needs. Storytelling on the packaging helps to create product awareness 3) socio-geography of an ethnic group can create patterns of products that reflect conservation values and inheritance and 4) creating value-added to products with quality and standards, causing consumers to accept the product. For the successful condition, it will help develop products including increasing production efficiency, distribution channels, and participation in setting goals more clearly. New marketing through online media also helps to expand the market and increase more customers. This research recommended that there should be a continuous knowledge management process, to enable community enterprises to learn, pass on, inherit, improve, apply and expand local wisdom to be suitable for use in creating a product for value-added.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญา และสภาพการณ์การจัดการความรู้ ภูมิปัญญา 2. พัฒนารูปแบบ 3. ทดลองใช้รูปแบบ และ 4. ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาติพันธุ์ไทยยวน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและ พัฒนา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ รวม 52 คน และตัวอย่าง คือ ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์โอทอป รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถาม สัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างทฤษฎีฐานราก ผลการวิจัยพบว่า 1. การทอผ้าจก คือ ภูมิปัญญาที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์และสืบทอด เป็นมรดกทางศิลปหัตถกรรม ที่มาของความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ 1) ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ 2) ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลที่เกิดจากฝึกฝนและปฏิบัติ 3) ความรู้ที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ และ 4) ความรู้ที่พัฒนาเป็นความรู้เฉพาะกลุ่ม 2. รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ผ้าทอวิสาหกิจชุมชนชาติพันธุ์ไทยยวน กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่างประกอบด้วย องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ภูมิสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และ 4) การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ 1) การพัฒนาผู้ผลิต 2) การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่นจก 3) ภาวะผู้นำ 4) ความร่วมมือของเครือข่ายในการจัดการความรู้ และ 5) ความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3. การทดลองใช้รูปแบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ 1) ทบทวนความรู้ตามองค์ประกอบรูปแบบ 2) วิเคราะห์บันไดการเรียนรู้ 3) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และ 4) ประเมินความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์  และ 4. ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 2) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบ พื้นฐานของการสร้างสรรค์ต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คงอัตลักษณ์และสนองประโยชน์ของผู้บริโภค การบอกเล่าเรื่องราว บนบรรจุภัณฑ์ช่วยสร้างการรับรู้ 3) ภูมิสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ช่วยสร้างลวดลายรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่สะท้อน ค่านิยมการอนุรักษ์และการสืบทอด และ 4) การสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มบนพื้นฐานของคุณภาพ และมาตรฐานทำให้ผู้บริโภคยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ สำหรับเงื่อนไขความสำเร็จจะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และการตลาดยุคใหม่ผ่านสื่อออนไลน์จะช่วยขยายตลาดและฐานลูกค้า งานวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะให้มีกระบวนการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนสามารถเรียนรู้ ถ่ายทอด สืบทอด ปรับปรุงประยุกต์และต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3018
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58260907.pdf8.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.