Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3037
Title: THE DEVELOPMENT OF APPLICATION FOR EDUCATION WITH PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITIES ON PYTHON PROGRAMMING LESSONS, COMPUTING SCIENCE SUBJECT  TO ENHANCE PROGRAMMING ABILITY AND PROGRAMMING  PROJECT WORK   OF MATHAYOM 1 
การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษา Python ที่มีต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Ruankwan PHONRIT
เรือนขวัญ พลฤทธิ์
Anirut SATIMAN
อนิรุทธ์ สติมั่น
Silpakorn University. Education
Keywords: การพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา
กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
ความสามารถในการเขียนโปรแกรม
ผลงานการเขียนโปรแกรม
Developing educational applications
problem-based learning activities
Programming Ability
Programming Portfolio
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were 1. To assess the quality of educational applications used in conjunction with problem-based learning activities. Computational science Of Mathayomsuksa 1 students 2. To evaluate the programming ability and programming output of students who study with Educational Application used in conjunction with problem-based learning activities. base 3. To compare the learning outcomes of students studying with the Educational Application used in conjunction with the problem-based learning activities of students of different abilities. 4. To study the opinions of students who study with Educational Application in conjunction with the Department of Problem-Based Learning. The research results were found 1) Results of an educational application quality assessment used in conjunction with problem-based learning activities. Computational science Of Mathayomsuksa 1 students by content experts was the level of “very good” And the analysis of quality assessment of educational applications in conjunction with problem-based learning activities in Python programming by design was the level of “Very Good”. 2) The programming competency results of group 1 students studying with an educational application used in conjunction with a problem-based learning activity. Found that students in group 1 was the level of “very good” And students in group 2 was the level of “very good” And the programming work of the group 1 students studying with an educational application that is used in conjunction with the problem-based learning activities Found that students in group 1 was the level of “very good” And students in group 2 was the level of “very good”. 3) A comparison of the learning outcomes of the students studied with the Educational Application, combined with the problem-based learning activities of students with different abilities, found that the results After studying for group 1 students was the level of “very good”. And students in group 2 was the level of “very good”. 4) Results of studies, opinions of students studying with the Educational Application in conjunction with problem-based learning activities was the level of “very good” design aspect . The content  was the level of “very good” .The aspect of the use of educational applications was the level of “very good”  The learning activities was the level of “very good”. and the benefits was the level of “good”.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อประเมินคุณภาพแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2.เพื่อประเมินผลความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 3.เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน 4.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.64 , S.D.= 0.44 และผลการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา Python โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.67 , S.D.= 0.44 2) ผลความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนกลุ่ม 1 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.69 และนักเรียนกลุ่ม 2 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 2.31 เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 3.957  กล่าวคือคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 สูงกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่านักเรียนกลุ่ม 1 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.02 และนักเรียนกลุ่ม 2 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 1.40 เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 5.621 กล่าวคือคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมของนักเรียนเฉลี่ยกลุ่มที่ 1 สูงกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันพบว่าผลการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่ม 1 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.69 และนักเรียนกลุ่ม 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.66 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่า 2.31 เมื่อนำมาทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 3.957  4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยแอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.70 , S.D. = 0.52)  ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.61 , S.D. = 0.59)  ด้านการใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา อยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.54 , S.D. = 0.54) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก (X = 4.54 , S.D. = 0.59) และด้านประโยชน์ อยู่ในระดับดี (X = 4.50 , S.D. = 0.62) 
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3037
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60257407.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.