Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/304
Title: งานเขียนร้อยแก้วของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี: การศึกษาในฐานะวรรณคดีคำสอน
Other Titles: PROSE WORKS OF CHAOPHRAYA PHRASADEJ SURENTRATHIBODI: A STUDY AS DIDACTIC LITERATURE
Authors: ศรีสมศักดิ์, สุทธินันท์
Srisomsak, Suttinan
Keywords: เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
วรรณคดีคำสอน
CHAOPHRAYA PHRASADEJ SURENTRATHIBODI
DIDACTIC LITERATURE
Issue Date: 26-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาที่เป็นคำสอนในงานเขียนร้อยแก้วของเจ้าพระยาพระเสด็จ สุเรนทราธิบดี รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับประวัติของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีและบริบททางสังคม และเพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอเนื้อหาคำสอนในงานเขียนร้อยแก้วของท่าน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีสร้างสรรค์งานเขียนร้อยแก้วที่มีเนื้อหาเป็นหลักคำสอนนี้เนื่องจากความต้องการที่จะพัฒนาคนให้มีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยกลุ่มบุคคลที่เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีมุ่งสอน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ นักเรียน และผู้ประกอบอาชีพเฉพาะทาง ประกอบด้วยแพทย์ และนักการทูต รูปแบบของงานเขียนร้อยแก้วของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีมี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบจดหมาย รูปแบบตำราเรียน และรูปแบบบันทึกคำสั่งสอน ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มบุคคลที่ท่านมุ่งที่จะสอน เนื้อหาหลักคำสอนที่ปรากฏในงานเขียนร้อยแก้วของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ได้แก่ หลักการดำเนินชีวิต หลักในการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นและการวางตัวในสังคม หลักในการปกครอง หลักในการรับราชการ และหลักในการประกอบอาชีพเฉพาะทางอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ และนักการทูต กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาคำสอนของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สามารถจำแนกเป็น 3 กลวิธี ได้แก่ กลวิธีการแต่ง กลวิธีการใช้ภาษา และกลวิธีการสอน โดยกลวิธีการแต่ง มีการตั้งชื่อเรื่องด้วยคำที่สั้นและง่าย การเปิดเรื่อง และการปิดเรื่องที่ช่วยกระตุ้นความสนใจและเน้นย้ำคำสอนของท่าน รวมทั้งการเสนอเรื่องที่เป็นการแสดงกระบวนการและความสัมพันธ์โดยการอธิบาย ส่วนกลวิธีการใช้ภาษา ประกอบด้วยการใช้ภาษาในระดับคำ ซึ่งได้แก่ การใช้หมวดคำเกี่ยวกับการสอนเพื่อแสดงถึงสิ่งที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ การใช้คำซ้อนเพื่อเน้นย้ำความหมาย และการใช้คำภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษาระดับข้อความ ได้แก่ การใช้สำนวนในการอธิบายเนื้อหาคำสอน การใช้ประโยคขนาดสั้นและยาวให้เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่ท่านมุ่งสอน การใช้โวหารการเขียนประเภทเทศนาโวหารควบคู่กับอธิบายโวหาร บรรยายโวหาร และสาธกโวหาร และการใช้วัจนลีลาแบบหารือหรือกึ่งทางการในการถ่ายทอดเนื้อหาคำสอน กลวิธีการสอนเนื้อหาคำสอนของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีมีทั้งหมด 7 กลวิธี ได้แก่ การสอนโดยการใช้ความเปรียบ การสอนโดยตรง การสอนโดยการอธิบายซึ่งจำแนกเป็นเป็น 3 ประเภท คือ การอธิบายด้วยการขยายความ การอธิบายด้วยการแสดงทรรศนะของผู้แต่ง และการอธิบายชี้แจงให้เห็นผลดีและผลเสีย นอกจากนี้ยังมีการสอนโดยการตั้งคำถามนำ การสอนโดยผ่านพฤติกรรมของตัวละครสำคัญ การสอนโดยการใช้กลวิธีการอ้างถึง และการสอนโดยยกนิทานและอุทาหรณ์ประกอบ กลวิธีการสอนที่โดดเด่นที่สุด คือ การสอนโดยการใช้ความเปรียบ The Thesis aims to study content of didactic in prose works of Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi; and the relationship between content, the biography of Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi, social context, and didactic of literature presentation in his prose works. The result showed that the factors which effected on the Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi’s prose woks composition revealed in didactic tone was the desire to develop people’s capacity for advancement of the country. The target groups of his teaching were King, civil servants, students and specialist principles consisting of physicians and diplomats. There were 3 genres of the Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi’s prose woks which were letter genre, textbook genre and didactic note genre. These conformed to the content and his targets. The Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi’s didactic content which appeared in his prose works were living principles, human relations and lifestyle principles; political science principles; governmental principals; and specialist principles consisting of physicians and diplomats. There were 3 presentation techniques in Chaophraya Phrasadej Surentrathibodi’s literature that were composition technique, language usage technique, and didactic technique. Focusing on composition technique, it was naming the titles with concise words; the interesting motivation and emphasizing on his didactic points in closing; also, the presentation demonstrating with process and relationship through the description. Language usage technique involved syntax usage which were word categories of didactic context for showing both proper and improper behaviors, hendiadys for meaning accentuation, and foreign languages usage. Moreover, there was statements usage which was idioms for content and didactic description; suitable sentences with content and target groups; the usage of figurative language consisting of didactic, descriptive, narrative, argumentative, and semi-formal style for passing on the didactic content.
Description: 54202212 ; สาขาวิชาภาษาไทย --สุทธินันท์ ศรีสมศักดิ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/304
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
สุทธินันท์.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.