Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3069
Title: Relationship between Motivation and Employee Engagement of Office of Transport and Traffic Policy and Planning Employees
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
Authors: Rujira TANTAPONG
รุจิรา ตัณฑพงษ์
Kreagrit Ampavat
เกริกฤทธิ์ อัมพะวัต
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
ปัจจัยค้ำจุน
Employee Motivation
Employee Engagement
Hygiene Factors
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aimed to investigate Office of Transport and Public Policy and Planning employees’ motivation and employee engagement, then, examine the relationship between employee motivation and employee engagement. Data was collect using questionnaire with 160 employees of Office of Transport and Public Policy and Planning. Data was analyzed using percentage, mean, Standard Deviation (S.D.), and hypothesis testing by t-test, F-test and Person’s Product Moment Correlation. It was found that respondents had high level of work motivation (mean = 3.87, S.D. = 0.47), high level of hygiene factors (mean = 3.86, S.D. = 0.46), and high level of engagement (mean = 3.65, S.D. = 0.63). From t-test and F-test found that respondents with differences marriage status, education and employment status had differences level in organizational engagement. From Person’s Product Moment Correlation analysis found that employee motivation had relation with employee management. Therefore; to enhance employee engagement, Office of Transport and Traffic Policy and Planning should implement the motivation in working for work success, support employees’ satisfaction by assigning challenge works that enable employees to use their knowledge and capability, and communicate to employees that they are parts of company success.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร และความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จำนวน 160 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.87, S.D. = 0.47)  มีปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.86, S.D. = 0.46) และมีความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.65, S.D. = 0.63) จาก t-test และ F-test พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน และจากการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ดังนั้นเพื่อให้บุคคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรมีความผูกพันต่อองค์การเพิ่มขึ้น ควรนำแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความสำเร็จในการทำงาน ควรเสริมสร้างบุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงานโดยการมอบงานที่มีความท้าทายให้กับบุคลากรเพื่อให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ และถึงสื่อสารให้บุคลากรรับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จขององค์การ
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3069
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61602347.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.