Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3099
Title: THE DEVELOPMENT OF THE ENGLISH READING MODEL BASED ON CONSTRUCTIVISM AND CRITICAL READING STRATEGIES TO ENHANCE CRITICAL READING ABILITIES FOR MATTHAYOMSUKSA THREE STUDENTS IN EDUCATIONAL OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS
การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Authors: Chittima KHIEWPAN
จิตติมา เขียวพันธุ์
Patteera Thienpermpool
ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการสอนอ่านการภาษาอังกฤษ
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
THE ENGLISH READING MODEL
CONSTRUCTIVISM
CRITICAL READING
CRITICAL READING STRATEGIES
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to: 1) identify the problems and the needs involved in developing an instructional model for  English reading based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities for Matthayomsuksa Three students in Educational Opportunity Expansion Schools; 2) develop and evaluate the English reading model based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities; 3) study the effect of using English reading model based on constructivism and critical reading strategies by 3.1) compare students’ critical reading ability between before and after learning by using the model; 3.2) survey the result of  critical reading strategy use of students; 3.3) study the students’ opinions toward the model and 4) verify the instructional model for  English reading based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities for Matthayomsuksa Three students in Educational Opportunity Expansion Schools. The sample was 16 Matthayomsuksa 3 students of Bantriam School in Semester 2 of Academic year 2561 in Kuraburi district, Phang-nga province, selected by simple random sampling  technique. The research instruments were: 1) ESQSE Model including teacher’s manual and lesson plans, 2) a test of critical reading ability, 3) learning logs, and 4) a questionnaire for student’s opinion toward the model. The qualitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent and content analysis. The results of this research were as follows: 1)  The problems and the needs involved in developing an instructional model for  English reading based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities for Matthayomsuksa Three students in Educational Opportunity Expansion Schools was at the high level;  2) The English reading model based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities comprises 5 components: principles, objective, instructional, measurement and evaluation and conditions of using the model named as ESQSE Model consisting of 5 steps: Step 1 Engaging (E), Step 2 Self-Reading (S), Step 3 Questioning (Q), Step 4 Sharing (S), and Step 5 Evaluation (E). The draft ESQSE Model was verified by five experts at a high level in appropriateness; 3) The results of English reading model based on constructivism and critical reading strategies to enhance critical reading abilities;  3.1) The students’ critical reading ability scores obtained in the post-test after learning by using ESQSE Model were significantly higher than the pre-test at the .05 level; 3.2) The result of  critical reading strategy was the most frequently used strategy  with percentage of students’ usage; re-read (67.19)  however, using knowledge of grammatical  was at the least used strategy (16.41) ; 3.3) The students opinion toward ESQSE  Model was at the high level and 4) The ESQSE Model was verified by the other five experts at the high level in appropriateness.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนการเรียนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบ  3.2) สำรวจการใช้กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 3.3) ศึกษาความคิดเห็นของของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น และ4) รับรองรูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านเตรียม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 16  คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ และแผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบบันทึกการเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ   สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)  สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2)  )  รูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (ESQSE model) ที่ผู้วิจัยพัฒนา มี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ  วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นและเชื่อมโยงความรู้เดิม (E)  ขั้นที่ 2 ขั้นฝึกอ่านด้วยตนเอง (S)  ขั้นที่ 3 ขั้นตั้งคำถาม (Q)  ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (S) และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล  (E)  ซึ่งร่างรูปแบบได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ผลการใช้รูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  (ESQSE Model) ที่พัฒนาขึ้นพบว่า 3.1) คะแนนความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3.2) การใช้กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า  นักเรียนใช้กลวิธีการอ่านซ้ำ (67.19)  มากที่สุด ส่วนการใช้ความรู้ด้านโครงสร้างไวยากรณ์  (16.41) น้อยที่สุด  3.3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ESQSE Model) โดยรวมอยู่ในระดับมาก  และ 4)  รูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสรัคติวิซึมร่วมกับกลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ESQSE Model) ได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3099
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57254905.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.