Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3100
Title: THE LOCAL WISDOM LEARNING RESOURCES MANAGEMENT OF BASIC EDUCATIONAL SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Authors: Kasamaporn THONGAUE
กษมาพร ทองเอื้อ
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหาร
การจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ADMINISTRATION
MANAGEMENT OF LOCAL WISDOM LEARNING RESOURCES
BASIC EDUCATIONAL SCHOOL
OFFICE OF SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) determine the components of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area, and 2) confirm the components of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area. The operation of this research composed of 4 steps: 1) study and analyze of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area, 2) research tool construction of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area, 3) data collection and analyze the component of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area, and 4) Confirmation of components analysis results. The respondents were the school director, deputy director of school or perform duties on behalf of deputy director and teacher civil service of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area from 94 schools, with the total of 282 respondents. The statistic for analyzing the data were: frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and exploratory factor analysis. The findings of this research were as follows: 1. The local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area composed of 6 components: 1) local wisdom learning resources planning, with 42 variables, 2) strategic planning, with 14 variables, 3) promoting to use local wisdom learning resources, with 6 variables, 4) supervising and administration promoting, with 6 variables, 5) giving participants the opportunity to take part with 4 variables, and 6) development designing and connecting knowledge with 3 variables. 2. The confirmation of 6 components of the local wisdom learning resources management of basic educational school under the Office of Secondary Educational Service Area were appropriately, possibility, accurately and utility.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) การสร้างเครื่องมือการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) การเก็บข้อมูล และวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 4) การยืนยันผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และข้าราชการครู จากสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 94 แห่ง รวม 282 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 42 ตัวแปร 2) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย 14 ตัวแปร 3) ด้านการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ประกอบด้วย 6 ตัวแปร 4) ด้านการกำกับติดตามและส่งเสริมการบริหาร ประกอบด้วย 6 ตัวแปร 5) ด้านการเปิด โอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ตัวแปร และ 6) ด้านการพัฒนา การออกแบบและเชื่อมโยงองค์ความรู้ จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 ตัวแปร 2. ผลการยืนยันองค์ประกอบของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการวางแผนจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 3) ด้านการการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการกำกับติดตามและส่งเสริมการบริหาร 5) ด้านการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม และ 6) ด้านการพัฒนา การออกแบบและเชื่อมโยงองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าองค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3100
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58252917.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.