Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3111
Title: | EFFECTS OF AN ENGLISH READING-WRITING INSTRUCTIONAL MODEL USING NORTHERN THAI CULTURAL CONTENT PLUS TASK-BASED APPROACH ON THE FOURTH YEAR STUDENTS' COMMUNICATIVE READING-WRITING ABILITIES, LAMPANG RAJABHAT UNIVERSITY ผลของการใช้รูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงานต่อความสามารถในการอ่าน-เขียนเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง |
Authors: | Busarakham INTASUK บุษราคัม อินทสุก Patteera Thienpermpool ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล Silpakorn University. Education |
Keywords: | การอ่าน-เขียนเพื่อการสื่อสาร การสอนด้วยกิจกรรมภาระงาน รูปแบบการสอน COMMUNICATIVE READING-WRITING TASK-BASED INSTRUCTION INSTRUCTIONAL MODEL |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: |
The purposes of this research were 1) to develop an English reading-writing instructional model using northern Thai cultural content plus task-based approach on English major students’ communicative reading-writing abilities at the efficiency index of 80/80, 2) to study the effectiveness of the developed instructional model focusing on: 2.1) the students’ reading comprehension ability before and after using the instructional model and its effect size, 2.2) the students’ communicative writing abilities before and after using the instructional model and its effect size, and 2.3) the students’ communicative reading-writing ability before and after using the instructional model and its effect size, and 3) to investigate the students’ satisfaction with the instructional model.
The samples were 30 fourth-year English major students selected by Simple Random Sampling technique in the academic year of 2018 from the Faculty of Education, Lampang Rajabhat University. The instruments used for gathering data were 1) a students’ need survey and teachers’ interview questions, 2) a 10-unit communicative reading-writing instructional model using northern Thai cultural content, 3) a communicative reading-writing test using Thai cultural content for pretest and posttest purposes, and 4) a set of questionnaires on students’ satisfaction with the developed instructional model.
The students took pretest on English reading-writing, attended the 30-hour instructional model, took the test and completed the set of questionnaires on their satisfaction with the instructional model within the duration of 34 hours. The data were then analyzed by means of descriptive statistics, Paired sample t-tests, t-tests, One-Sample t-tests and Cohen’s d.
The findings can be summarized as follows:
Firstly, the efficiency index of the instructional model was 82.08/82.53 and higher than the expected criteria of 80/80. Secondly, on average, the students’ reading comprehension ability at the posttest was significantly higher than that of the pretest at p = 0.05 (delta = 27.40, t = 33.64, df = 29) with a very large effect size (d = 1.17). Next, on average, the students’ communicative writing ability at the posttest was significantly higher than that of the pretest at p = 0.05 (delta = 5.17,
t = 12.69, df = 29) with a medium effect size (d = 0.32). Besides, on the average, the students’ communicative reading-writing ability at the posttest was significantly higher than that of the pretest at p = 0.05 (delta = 30.33, t = 25.71, df = 29) with a medium effect size (d = 0.48). Finally, generally speaking, the students’ median value of satisfaction with the use of the developed instructional model in average was at 4.38 at high level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหา วัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงาน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงาน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 2.1) ศึกษา ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนและขนาดของผล 2.2) ศึกษาความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนและขนาดของผล 2.3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน-เขียนเพื่อการสื่อสารก่อนและหลังเรียนและขนาดของผล และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงาน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 30 คน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสำรวจข้อมูล ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนและแบบสัมภาษณ์ผู้สอน 2) รูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหา วัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงานที่พัฒนาขึ้น จำนวน 10 บท 3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรม ภาระงาน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงานที่พัฒนาขึ้น ทำการทดลองโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 10 บท ใช้เวลาเรียน 30 ชั่วโมง และทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้น นักศึกษา ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 34 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลให้ค่าเฉลี่ยของสถิติเชิงบรรยาย การเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired-Sample t-tests, t-tests One-Sample t-tests และสถิติ Cohen’s d ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนมีค่าเท่ากับ 82.08/82.53 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนโดยเฉลี่ยมีค่าความต่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ p = 0.05 (delta = 27.40, t = 33.64, df = 29) และค่าขนาดของผลเท่ากับ 1.17 3) ความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารหลังเรียน โดยเฉลี่ยมีค่าความต่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ p = 0.05 (delta = 5.17, t = 12.69, df = 29) และค่าขนาดของผล เท่ากับ 0.32 4) ความสามารถในการอ่าน-เขียนเพื่อการสื่อสารหลังเรียนโดยเฉลี่ยมีค่าความต่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ p = 0.05 (delta = 30.33, t = 25.71, df = 29) และค่าขนาดของผล เท่ากับ 0.48 และ 5) โดยภาพรวมพบว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่าง มีค่ามัธยฐานของระดับความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.38, SD = 0.30) |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3111 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60254902.pdf | 5.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.