Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3115
Title: COMMUNITY-BASED LEARNING COUPLED WITH ELCTRONIC MEDIA IN LOCAL STUDIES LESSON TO DEVELOP LIFELONG LEARNING SKILLS IN MATHAYOM-FOUR STUDENTS
การจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Wuttichai TIAMYOD
วุฒิชัย เทียมยศ
Arnon Punain
อนัน ปั้นอินทร์
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
COMMUNITY-BASED LEARNING
ELCTRONIC MEDIA
LIFELONG LEARNING SKILLS
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aimed to 1) examine lifelong learning skills of Mathayomsuksa 4 students using community-based learning and electronic media, 2) compare learning achievements of Mathayomsuksa 4 students before and after studying Nong Chok, Bangkok Sud Burapha lesson through community-based learning and electronic media, and 3) study productive competency in electronic media task of Mathayomsuksa 4 students after using community-based learning and electronic media. The participants included 35 students in Mathayom 4/8 enrolled in the second semester of 2019 school year from Bodindecha (Sing Singhaseni) 4 School, Secondary Educational Service Area Office 2, Nong Chok District, Bangkok. The research instruments consisted of 1) lesson plans, 2) Lifelong Learning Skills Questionnaire, 3) Lesson Test about Nong Chok, Bangkok Sud Burapha, and 4) Rating Scales for Productive Competency in Electronic Media Task. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test dependent. The findings were as follows: 1. Mathayomsuksa 4 students’ overall lifelong learning skills were often performed after using community-based learning and electronic media. 2. Mathayomsuksa 4 students’ learning achievements on Nong Chok, Bangkok Sud Burapha lesson through community-based learning and electronic media were significantly higher than those before learning at the .05 level. 3. Mathayomsuksa 4 students’ productive competency in electronic media tasks after using community-based learning and electronic media was at a good level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง หนองจอกบางกอกสุดบูรพา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) ศึกษาความสามารถในการสร้างผลงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๔ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง หนองจอกบางกอกสุดบูรพา และ 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างผลงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test for dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตนบ่อยครั้ง 2. ผลการเรียนรู้ เรื่อง หนองจอกบางกอกสุดบูรพา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการสร้างผลงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับดี
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3115
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60262317.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.