Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3122
Title: | THE DEVELOPMENT OF SPELLING ABILITIES OF THIRD GRADE STUDENTS TAUGHT BY COOPERATIVE LEARNING WITH EDUCATIONAL GAMES การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้เเบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา |
Authors: | Sopita MOONTHEP โสภิตา มูลเทพ SIRIWAN VANICHWATANAVORACHAI ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Silpakorn University. Education |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้เเบบร่วมมือ เกมการศึกษา การเขียนสะกดคำ cooperative learning educational games spelling abilities |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) to find out the quality of lesson plans taught by cooperative learning with educational games to be consistent with the criteria of index of cogruence. 2) to compare the students’ achievement in spelling abilities with a 60 percent score after using the cooperative learning with educational games. 3) to study the students’opinions toward learning by cooperative learning with educational games. The sample of this research were 15 third grade students of Watrajchakrue school, Thonburi, Bangkok during the second semester in the academic year 2020. The instruments used for gathering the data were: 1) five lesson plans taught by cooperative learning with educational games, 2) an achievement test with 30 multiple-choice and gap-filling test items, 3) a 10-item rating scale questionnaire of student’s opinions towards the cooperative learning with educational games about learning atmosphere, learning activities, and benefits of learning. The data were analyzed by percentage, means, standard deviation and content analysis. The results of this research were as follows: 1) The quality of the lesson plans using the cooperative learning with educational games meets the criteria of index of item objective congruence at 1.00. 2) The word spelling writing achievement of third grade students after using the cooperative learning with educational games were 64.00 percent which is higher than the required rate of 60.00 percent. 3) The students’ opinions toward the cooperative learning with educational games were at higher level mean = 4.92, standard deviation = 0.16. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ดัชนีความสอดคล้อง 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของ โรงเรียนวัดราชคฤห์ กลุ่มเครือข่ายที่ 67 สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนสะกดคำด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคำ แบบปรนัย ประเภทเติมคำ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษามีคุณภาพตามเกณฑ์ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) ความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียน เท่ากับร้อยละ 64.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.16 |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3122 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61263315.pdf | 8.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.