Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3130
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Satanan CHANOWANNA | en |
dc.contributor | ศตนันท์ ชโนวรรณะ | th |
dc.contributor.advisor | Tonkao Panin | en |
dc.contributor.advisor | ต้นข้าว ปาณินท์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2021-05-31T02:30:37Z | - |
dc.date.available | 2021-05-31T02:30:37Z | - |
dc.date.issued | 18/6/2021 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3130 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | Starting in the 1960s, and gaining intensity since the turn of the millennium, the identity of Thai architecture has been a subject of much discussion and written discourse among architects, academicians, persons who commission architectural designs, and the media. A major topic of this dialogue has been a quality labeled “Thai-ness.” There have been questions about its existence, its possible loss or alteration due to global influences, and its substance. In this thesis, I have attempted to explore these questions in two ways. I have studied 16 structures designed and built since 2000 to describe and interpret features in them that might express their identity, and I have studied the discourse on contemporary architecture to try to discern how architects addressed structural features and what their intentions might signify. In this effort I have explored historical and global trends that have been significant for Thai designs. It has become clear that since 2000, the trends in and focus on Thai structural identity have been transformed. Architects have shifted from directly borrowing traditional Thai styles to adapting the vernacular styles when they could solve a problem. This has generated an architecture that is true to itself but does not necessarily have a familiar Thai appearance. The focus is on how a structure will be used and its practicality for modern life. Elements such as spaces, roof forms, openings, wall surfaces, and materials have been designed in an abstract, modern form. This has minimized the plainness of pure form and broken the box by merging form with location in logical ways. Naturalism, sufficiency, and localism have become part of the story of contemporary identity. Various types of discourse have been produced by architectural stakeholders to legitimize the new identity. The media, especially, created a greater awareness of and familiarity with the region’s broader and abstract meanings. I argue that it may not be necessary to define the national architecture in terms of “Thai-ness” (as it has been in the past) and that this definition has led to a narrow, limited discourse and struggles of interpretation and application. A better definition may be “autonomous architecture,” a form that encompasses place, time, and individual. | en |
dc.description.abstract | แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ “ความเป็นไทย” ที่ถูกจุดประเด็นขึ้นในทศวรรษที่ 1960 และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ส่งผลให้สถาปนิก นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงสื่อ เสนอและวิพากษ์แนวคิดรวมถึงรูปแบบการออกแบบเพื่อตอบต่อประเด็นดังกล่าว โดยในช่วงก่อน ค.ศ. 2000 แนวคิดจะเป็นวาทกรรม เน้นไปที่การให้ความหมายของคำว่า “ความเป็นไทย” และการค้นหาว่า ความเป็นไทยที่แท้จริงในสถาปัตยกรรมนับแต่อดีตมีรูปแบบอย่างไร มีอยู่จริงหรือไม่ นอกจากนี้ความวิตกเกี่ยวกับการสูญเสียอัตลักษณ์เนื่องมาจากสภาวะโลกาภิวัตน์ยังกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีอัตลักษณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ในช่วงก่อน ค.ศ. 2000 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพัฒนาการ อันเป็นผลสืบเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว โดยการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ ประการแรก ศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษาอาคารประเภทบ้านพักอาศัยจำนวน 16 หลัง ที่สร้างหลัง ค.ศ. 2000 เพื่อที่จะศึกษาอัตลักษณ์ รูปแบบที่เป็นรูปธรรม และประการที่สอง ศึกษาวาทกรรมสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เพื่อที่จะทราบว่าสถาปนิกอธิบาย นิยามและมีเจตจำนงในงานออกแบบเหล่านั้น บนฐานคิดและนามธรรมเรื่องอัตลักษณ์อย่างไร ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้ศึกษาถึงพัฒนาการแนวคิดในประวัติศาสตร์ไทยและแนวโน้มทฤษฎีสถาปัตยกรรมระดับสากลที่มีผลต่องานออกแบบในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าหลัง ค.ศ. 2000 แนวโน้มและมุมมองเรื่องอัตลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลง สถาปนิกได้ปรับเปลี่ยนจุดเน้นในการออกแบบ จากการหยิบยืมสถาปัตยกรรมไทยประเพณีมาสู่การประยุกต์ภาษาสถาปัตยกรรมแบบอื่น ๆ รวมทั้งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่ถูกนำมาใช้เชิงนามธรรม แนวทางใหม่นี้ ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะสอดคล้องกับการใช้งานถึงแม้งานออกแบบบางชิ้นที่อยู่บนฐานคิดเรื่องอัตลักษณ์ อาจจะไม่ปรากฏรูปแบบตามต้นแบบในอดีตที่เคยเชื่อกันว่าเป็นลักษณะอัตลักษณ์ความเป็นไทยเลยก็ตาม กลยุทธ์นั้นได้ปรับเปลี่ยนมาสู่เหตุผลเชิงภววิสัย ที่เน้นการใช้งานได้จริงสำหรับชีวิตของคนในสมัยปัจจุบัน องค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่ถูกนำมาใช้ เช่น ที่ว่าง รูปทรงหลังคา ช่องเปิด เปลือกอาคารและวัสดุมักถูกออกแบบเชิงนามธรรม ด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ถึงกระนั้นก็มีการทำลายความแข็งกระด้างของรูปทรงบริสุทธิ์ ด้วยการแตกมวลและปรับให้มีรายละเอียด ทั้งนี้เพื่อเอื้อต่อการใช้งานหรือการอยู่ได้จริงและสอดรับกับภูมิอากาศ เกิดแนวคิดธรรมชาตินิยม ความพอเพียง และสถาปัตยกรรมแห่งภูมิภาค-ภูมิอากาศนิยมเชิงวิพากษ์ เป็นต้น ซึ่งนับเป็นวาทกรรมที่แพร่หลายในสื่อ เพื่อใช้บรรยายอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมของสถาปนิกแต่ละราย ซึ่งวาทกรรมใหม่ ๆ ถูกประกอบสร้างขึ้น โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้อธิบาย ให้ความหมายและคุณค่า ตลอดจนให้เหตุผลเกี่ยวกับอัตลักษณ์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสูงในการสร้างและถ่ายทอดการรับรู้นิยามอัตลักษณ์แบบใหม่แก่ผู้บริโภค ขอบเขตของนิยามจะขยายกว้างขึ้นและมีความเป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย วิทยานิพนธ์นี้สรุปว่า อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมหลัง ค.ศ. 2000 อาจไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดด้วยวาทกรรม “ความเป็นไทย” แบบเดิมที่ยึดโยงกับรูปธรรมบางลักษณะของอดีตอีกต่อไป เนื่องด้วยนิยามเดิมมีข้อจำกัดและการประยุกต์ใช้เป็นไปอย่างยากลำบาก และวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอการนิยามและอธิบายแนวคิดสถาปัตยกรรมที่เน้นอัตลักษณ์ของประเทศไทยที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงเวลาร่วมสมัย เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นอัตตะ-ทรรศนะ ที่มีลักษณะที่ยึดโยงกับกาละเทศะและความเป็นตัวตนของแต่ละบุคคล | th |
dc.language.iso | en | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | สถาปัตยกรรมอัตตะ-ทรรศนะ | th |
dc.subject | อัตลักษณ์ความเป็นไทย | th |
dc.subject | อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมร่วมสมัย | th |
dc.subject | วาทกรรมสถาปัตยกรรม | th |
dc.subject | ทฤษฎีสถาปัตยกรรม | th |
dc.subject | autonomous architecture | en |
dc.subject | Thai identity | en |
dc.subject | contemporary architectural identity | en |
dc.subject | architectural discourse | en |
dc.subject | architectural theory | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | The Production of Discourse on Autonomous Architecture in Thailand | en |
dc.title | การประกอบสร้างวาทกรรมสถาปัตยกรรมเชิง"อัตตะ-ทรรศนะ" | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59054906.pdf | 32.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.