Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3134
Title: GESTALT FINDEN: ON FREI OTTO’S DESIGN APPROACH
GESTALT FINDEN: ว่าด้วยแนวความคิดในการออกแบบของ ไฟร โอทโท
Authors: Sippawich KAMBUNG
สิปปวิชญ์ กำบัง
Tonkao Panin
ต้นข้าว ปาณินท์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: Gestalt finden
ไฟร โอทโท
กระบวนการก่อรูป
Gestalt finden
Frei Otto
Morphology
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Form is an important issue due to architectural design.  Man could observe form as the result of the design processes. Frei Paul Otto (31 May 1925 – 9 March 2015) is a prominent German architect of twentieth-century who won many international architecture prizes included the Pritzker prize in 2015. He was well known for his pioneering innovations in lightweight tensile structures which inspired by nature. It was the problem for the study, while most publications about him focused on his dynamic forms experimentations, and technical issues, but ignored the deep understanding of his design philosophy. Frei Otto established the Institute for Lightweight Structures at the University of Stuttgart in 1964. After his retirement in 1991, there are three institutes separated from his way of study and research. The three institutes play important roles in their profound technical research issues, might also bewilder the study on Frei Otto. The study to decode Otto’s design concept leads to Frei Otto’s body of knowledge categorization. The study reveals the concept of morphology which closely related to the philosophy of rationalism and the context of technology or industrialism in Germany. These notions translated into Frei Otto’s design approach and practices. Moreover, the results of the study presented the continuity of the related contemporary design clusters after his era.
รูปทรง เป็นประเด็นสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรม เนื่องจากเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการออกแบบที่แสดงตัวให้ทุกคนได้เห็น ไฟร เพาวล์ โอทโท (31 พฤษภาคม ค.ศ.1925 - 9 มีนาคม ค.ศ.2015) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมันคนสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้รับรางวัลในระดับนานาชาติมากมาย รวมถึงรางวัล Pritzker prize เมื่อปี ค.ศ. 2015 ไฟร โอทโท ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกการออกแบบโครงสร้างเบาซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ แต่นั่นก็เป็นประเด็นปัญหาสำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ เนื่องจากมีวรรณกรรมจำนวนมากที่กล่าวถึงการสร้างรูปทรงของไฟร โอทโท หรือ gestalt ในภาษาเยอรมัน  โดยมุ่งนำเสนอผลงานการออกแบบที่มีรูปทรงแบบพลวัต และประเด็นเชิงเทคนิคการทดลองและการก่อสร้างเป็นหลัก แต่ยังขาดการศึกษาทำความเข้าใจปรัชญาการออกแบบของเขาอย่างจริงจัง หลังจากเกษียณอายุงานจากมหาวิทยาลัยชตุทท์การ์ท เมื่อปี ค.ศ.1991 แล้ว สถาบันการออกแบบโครงสร้างเบาที่เขาได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 ได้แตกกลุ่มออกเป็นสถาบันย่อย 3 สถาบัน แต่ละสถาบันมีแนวทางในการค้นคว้าวิจัยตามแนวทางของตนเอง ซึ่งทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้สนใจศึกษาแนวความคิดในการออกแบบของไฟร โอทโท มากยิ่งขึ้น การศึกษาเพื่อถอดรหัสความคิดในการออกแบบของไฟร โอทโท ช่วยทำให้สามารถจัดระเบียบองค์ความรู้เรื่องแนวความคิดในการออกแบบของเขาได้อย่างชัดเจน เห็นวิธีการสร้างแนวความคิดเรื่องกระบวนการก่อรูป ซึ่งมีฐานมาจากแนวคิดปรัชญาเหตุผลนิยม และบริบททางความคิดเรื่องเทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรมการผลิตของประเทศเยอรมนี แนวคิดนามธรรมเหล่านี้ถูกแสดงออกผ่านการสร้างเครื่องมือทางความคิดและการปฏิบัติงานของเขา นอกจากนั้นยังทำให้เห็นความเชื่อมโยงมาสู่กลุ่มความคิดในการออกแบบในปัจจุบันหลังจากยุคสมัยของเขาด้วย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3134
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61054905.pdf13.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.