Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/314
Title: การพัฒนาเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการเชิงสร้างสรรค์ ของกลุ่มธุรกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
Other Titles: DEVELOPMENT ON EVALUATION CRITERIA OF CREATIVE MANAGEMENT IN COMMUNITY BUSINESS IN WESTERN THAILAND
Authors: ชุมเกตุ, จิตพนธ์
Chumkate, Jittapon
Keywords: เกณฑ์การประเมิน
การจัดการเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มธุรกิจชุมชน
EVALUATION CRITERIA
CREATIVE MANAGEMENT
COMMUNITY BUSINESS
Issue Date: 8-Jan-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มธุรกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย กระบวนการศึกษาใช้ การวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่มและเทคนิคการวิจัยอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research; EDFR) โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เกี่ยวกับแนวโน้มขององค์ประกอบในการจัดทำเกณฑ์ประเมิน สำหรับสถิติในการวิจัยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) จากสมาชิกวิสาหกิจชุมชนจำนวน 560 ราย จากนั้นจึงตรวจสอบเกณฑ์ประเมินด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์โอทอป จำนวน 3 ราย จากผลการวิจัย พบว่าเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการเชิงสร้างสรรค์มี 3 องค์ประกอบหลัก (3V) 9 องค์ประกอบย่อย (PODOWN-CIS) ได้แก่ 1) การสร้างมูลค่าเพิ่ม มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ กระบวนการ ผลผลิต และภูมิปัญญา 2) การดำเนินการที่เกิดคุณค่า มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ การส่งมอบและการสื่อสาร ผลลัพธ์ เครือข่ายความร่วมมือ และความต่อเนื่อง 3) ผลประกอบการ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ รายได้ และปริมาณการขาย ขณะที่ผลการประเมินเกณฑ์ด้วยเทคนิค IOC ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนการพิจารณาเกณฑ์ได้ค่า IOC สูงกว่า 0.5 แสดงให้เห็นว่ามีความเห็นต่อเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ จากผลการทดลองประเมินผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร พบว่าผลของเกณฑ์การประเมินสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน และสามารถให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบการจัดการให้มีความสร้างสรรค์และมีมาตรฐานที่สูงขึ้น This research was aimed to develop evaluation criteria of creative management for community business located in the western Thailand. A research methodology was divided into 3 steps; first step was to determine a basic concept of community business development approach which led to management process with creative economy, using documentary research technique and focus group. The second step was to create the evaluation criteria with Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. 17 experts were interviewed about a tendency of components for the evaluation criteria. The researcher used confirmatory factor analysis as a statistical analysis from 560 members of community enterprise. The last step was to measure an efficiency of the evaluation criteria by applying IOC technique. Then, a trial was applied with 3 OTOP herbal product owners. The results showed that the evaluation criteria of creative management process totally included 3 principle components (3V) and 9 subcomponents (PODOWN-CIS); 1) Value added was consisted of 3 subcomponents which were Process, Output, and Wisdom. 2) Valuable was consisted of 4 subcomponents which were Delivery, Outcome, Network, and Continuity. And 3) Volume was consisted of 2 subcomponents which were Income and Sales Volume. According to the IOC technique evaluation, it was found that total score from the experts was higher than 0.5 which meant their opinions were conformed. Furthermore, the trial results from the herbal product owners revealed different levels of operation. The evaluation criteria results were also capable to show their weakness and a guideline to develop higher creative management and standard level.
Description: 55604813 ; สาขาวิชาการจัดการ -- จิตพนธ์ ชุมเกต
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/314
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
จิตพนธ์.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.