Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3143
Title: INTERPRETATION DILEMMA CONDITION FROM ISAN PROVERBS TO THE CREATIVE OF CONTEMPORARY SCULPTURE
การตีความสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในผญาอีสานเพื่อสร้างผลงานประติมากรรมร่วมสมัย
Authors: Prasit WICHAYA
ประสิทธิ์ วิชายะ
KHEMRAT GONGSUK
เข็มรัตน์ กองสุข
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: ผญา
สัญญะแบบเหมือนจริง
จริยศาสตร์
ประติมากรรมร่วมสมัย
อีสาน
Isan Proverbs
Icon
Ethics
Contemporary Sculpture
Isan
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: These sculptures are inspired by ancient Isan proverbs, in particular ones with clear imagery and analogy of comparing one thing to another. The proverb  depicts characters who are respected and known for their good deeds and moral standings. However, in confronting even the slightest of temptations, they lose control against such temptation, leading to bad decisions and eventual moral wrongdoing. The proverbs inspire an interpretation of sculptural shapes evoking senses of loss of balance and misconduct, resulting in ruin of what was perceived to be a perfect life. The familiar icons, such as human shapes and objects that may or may not be relevant to each other, are assembled to express stories, events, emotions and attitude of the creator. The value of the sculptures lie in the beauty of the shapes, materials, assembly of the pieces, the relation of art to life, and presentation of sculptures losing balance to recreate a society regaining its balance. This is a case study to inspire self-reflection, understanding - of oneself and others alike, and respect of other cultures, which I believe will bring about a peaceful society. 
ผลงานประติมากรรมที่มีบทผญาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน เน้นที่ผญาคำสอน ในอดีตที่มีวิธีการเปรียบเทียบสร้างภาพพจน์ในการทำความเข้าใจของสิ่งหนึ่ง ด้วยอีกสิ่งหนึ่ง ผญา ภาษิตนี้เนื้อหาถึง บุคคลที่ได้รับการ เคารพนับถือ ได้รับการยอมรับจากคนทั้งหลายว่าเป็นคนดี มีศีลธรรม แต่เมื่อพบกับอุปสรรค สิ่งยั่วยวนแต่เพียงน้อย ก็ไม่สามารถหักห้ามยับยั่งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุ ทั้งหลายที่เข้ามาได้ จนนำไปสู่การละเมิด พลั้งพลาดตัดสินใจ กระทำในสิ่งที่ผิด ผิดธรรมผิดวินัย การตีความภาษิตผญานี้เพื่อแสดงถึงภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก(dilemma) ความสับสน ลำบากใจที่ จะต้องเลือกและความทุกข์ในสภาพนี้ สร้างรูปทรงประติมากรรมโดยให้ความรู้สึกว่า ชีวิตที่สูญเสียจุดสมดุล เสียหลัก ผิดจากหลักการหรือหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้มีผลให้เส้นทางของการดำเนินชีวิตให้สมบูรณ์ ผิดพลาดล้มเหลว โดยการเปลี่ยนภาษาอักษรเป็นประติมากรรม การสื่อสารสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกและการสร้างเรือนร่างที่น่าเคารพ โดยมีคุณค่าของงานประติมากรรม ความงามของรูปทรง เนื้อแท้ของวัสดุและรสชาติของการประกอบสร้างชิ้นงาน การเชื่อมโยงงานศิลปะเข้ากับวิถีชีวิต การเสนอประติมากรรมที่เสียสมดุลเพื่อสร้างสังคมที่มีความสมดุล เป็นกรณีศึกษาเพื่อสื่อให้เห็นแนวทางให้เราได้หันมาสำรวจตัวเอง เพื่อทำ ความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่นและเคารพวัฒนธรรมอื่นๆมากขึ้น อันเชื่อได้ว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมโดยรวม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3143
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58007809.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.