Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3151
Title: POSTCOLONIALISM IN THE ARTWORKS OF MARIA THEREZA ALVES
แนวคิดหลังอาณานิคมในผลงานศิลปะของ มาเรีย เธเรซา อัลเวส
Authors: Wirachai CHUNJANDANG
วีรชัย ชื่นจันทน์แดง
Paramaporn Sirikulchayanont
ปรมพร ศิริกุลชยานนท์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: หลังอาณานิคม
มาเรีย เธเรซา อัลเวส
POSTCOLONIALISM
MARIA THEREZA ALVES
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis aims to study and analyze Maria Thereza Alves’ works and the expression of her thoughts. Her works show a variety of issues concerning colonialism. The researcher uses the concepts of structuralism, post-structuralism, and post-colonialism to study her works. Those concepts focus on structural factors. In the study, the results are divided into categories to better understand her works. These issues are 1. postcolonialism and knowledge discourse 2. postcolonialism and feminism 3. postcolonialism and subaltern 4. postcolonialism and postcolonial identity and, 5. postcolonialism and environmental ecology. According to the study, it was found that various issues in her works are related to structural problems: 1. with Eurocentrism, the knowledge of the West is perceived to be truer. It leads to unfair actions and inequality 2. status structure creates inequality. The western male always holds centralized power. 3. semantic structure of the West defines the meaning of existence. Being out of the system or being different from it means one is not existed or valued. 4. to be surrounded by structures that reinforce discrimination in a world everyone is connected and dependent on each other leads to inner and outer conflicts. 5. colonialism justifies the West as the owner of universal nature. It leads to the exploitation of nature. Eurocentrism has led to colonial domination and profound effects in all aspects. The structure that causes the problem is the thing that affects everyone. It is the key element in artworks showing the artist's point of view towards colonialism.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวทางการสร้างสรรค์ แนวทางการแสดงออกทางความคิด ในผลงานของศิลปิน มาเรีย เธเรซา อัลเวส  ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นปัญหาอาณานิคม หลังอาณานิคมอย่างหลากหลาย  ในผลงานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาใช้แนวคิดโครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม หลังอาณานิคม อันเป็นแนวคิดที่มุ่งพิจารณาปัจจัยเชิงโครงสร้างเป็นสำคัญมาศึกษา  ในการศึกษาได้ทำการแบ่งผลงานออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาทำความเข้าใจ ประเด็นดังกล่าวได้แก่ 1. แนวคิดหลังอาณานิคมกับวาทกรรมความรู้ 2. แนวคิดหลังอาณานิคมกับแนวคิดสตรีนิยม 3. แนวคิดหลังอาณานิคมกับกลุ่มคนสถานะรอง 4. แนวคิดหลังอาณานิคมกับภาวะตัวตนหลังยุคอาณานิคม 5. แนวคิดหลังอาณานิคมกับนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ในผลงานที่สะท้อนประเด็นปัญหาต่างๆ  ที่มาของปัญหา ล้วนมีความสัมพันธ์กับสาเหตุเชิงโครงสร้าง  1. ด้วยโครงสร้างที่มีตะวันตกเป็นศูนย์กลาง ความรู้ของตะวันตกจึงเป็นความจริงยิ่งกว่า จนนำมาสู่การกระทำกับผู้อื่นและความไม่เท่าเทียม  2.ด้วยโครงสร้างสถานะที่มีความต่าง ก่อให้เกิดเป็นความต่างไม่เท่าเทียม  มีเพศชายชาวตะวันตกครองอำนาจศูนย์กลาง  3. โครงสร้างความหมายของตะวันตกกำหนดความหมายของการมีอยู่ การอยู่นอกระบบ ทำให้กลุ่มคนที่มีความแตกต่างตรงข้ามกลายเป็นผู้ไร้ค่าไร้ตัวตน  4. การต้องอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่ตอกย้ำแบ่งแยกความแตกต่าง ในโลกที่ทุกคนต่างเชื่อมโยงเข้าถึงพึ่งพากัน  เหล่านี้ล้วนนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  5. อาณานิคมทำให้ความสัมพันธ์กับธรรมชาติของตะวันตกกลายเป็นสิ่งสากล  นำมาสู่การหาประโยชน์ ฉกฉวยทำลายธรรมชาติ  ด้วยโครงสร้างตะวันตกเป็นศูนย์กลาง อันเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับปฏิบัติการอาณานิคม  เหล่านี้ได้นำมาสู่ผลกระทบที่ลึกซึ้งรอบด้าน  โครงสร้างอันเป็นสาเหตุของปัญหา เป็นสิ่งที่ทุกคนเผชิญร่วมกัน  และนี่คือองค์ประกอบสำคัญในผลงานที่สะท้อนปัญหาอาณานิคมของศิลปิน
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3151
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59005203.pdf9.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.