Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3166
Title: THE INFLUENCE OF THE WAT MANGKON MASS RAPID TRANSIT STATION TO SURROUNDING AREAS
อิทธิพลของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยรอบ
Authors: Rungtiwa CHANYOYOD
รุ่งทิวา จันทร์ย่อยศ
Singhanat Sangsehanat
สิงหนาท แสงสีหนาท
Silpakorn University. Architecture
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Wat Mangkon station is a mass rapid transit station located in Yaowarat District, the oldest Thai-Chinese commercial community in Bangkok. The key characteristic of Yaowarat district is a mix of business areas, residential buildings and urban lifestyles that are connected by a variety of culture and popular street-food tourist-attractions of Thailand. However, the mass transit system developed in the area may affect the transformation of surrounding areas in various dimensions. The aim of this research is to study the change of urban dimensions around the Wat Mangkon MRT station and it influences to urban transformation. This study had developed a conceptual framework based on relevant concepts and theories. Data collection were physical data before and after the development of the Wat Mangkon MRT station, by applying the internet search of urban dimensions as well as panoramic views of any locations on the road or Google Street View.  The research found that a mass transit results in physical, economic, and social context and makes change of the city and communities. The areas surrounding the station showed significant changes in those dimensions, interconnecting to each other area of Yaowarat district. While there is the image of an old town, new physical development with contemporary and creative businesses is also undertaken, meeting the needs of modern living trends and current ways of life of the city. The area has also shifted its urban role from a shopping district of retail-wholesale hubs, gold shops, and a traditional nightlife district to comprise a role of tourist district in which a new generation is a driving force as a catalyst of the area.  
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านการค้าและย่านชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร  จุดเด่นของย่านเยาวราช คือ การผสมผสานระหว่างย่านธุรกิจการค้า ย่านที่พักอาศัย และวิถีชีวิตแบบชุมชนเมือง ที่เชื่อมโยงร้อยรัดผูกพันกันด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งของประเทศไทย การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรางที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยรอบในหลายมิติ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทความเปลี่ยนแปลงไปในมิติต่างๆ บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร และอิทธิพลของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเมือง ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนากรอบแนวคิดของการวิจัยจากกระบวนการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลใน 2 ลักษณะคือ ข้อมูลพื้นที่ก่อนการเปิดใช้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร และข้อมูลพื้นที่ภายหลังการเปิดใช้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร ด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหลัก คือ การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีที่ทำให้เห็นมุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่างๆ บนท้องถนน หรือ กูเกิล สตรีตวิว  ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเมืองและย่านชุมชนได้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านั้น ภายในพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างซับซ้อนในแต่ละย่าน เกิดรูปแบบการพัฒนาแบบวิถีใหม่ในย่านเก่า ที่คลาคร่ำไปด้วยธุรกิจร่วมสมัยและธุรกิจแบบสร้างสรรค์  ตอบโจทย์การใช้สอยร่วมสมัยและวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน เปลี่ยนบทบาทจากย่านการค้า ศูนย์รวมตลาดค้าปลีกค้าส่ง ร้านขายทอง และย่านของกินยามค่ำคืนแบบดั้งเดิมเป็นย่านท่องเที่ยว ที่มีกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนและการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันลังสำคัญในการขับเคลื่อนและการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบัน
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3166
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59051211.pdf19.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.