Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3176
Title: | The Potential Assessment of Communities for Ecotourism and Cultural tourism Development, Case Study of Ban tha – Long Community , Ubon Ratchathani Province and Ban tha – Wat Community , Sakon Nakhon Province. การประเมินศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านท่าล้ง จังหวัดอุบลราชธานีและชุมชนบ้านท่าวัด จังหวัดสกลนคร |
Authors: | Passakon JUANSANG ภาสกร จวนสาง NATTAWUT PREYAWANIT ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | : แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/การประเมินศักยภาพ ECOTOURISM / CULTURAL TOURISM /POTENTIAL ASSESSMENT |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this study were: 1) to study the potential of the communities for improving Ecotourism and Cultural-tourism. 2) To obtain data for processing and developing of Ecotourism and Cultural-tourism. This research worker in 2 study areas; 1) Ban Tha Long, Huay Phai Sub District, Khong Chiam District, Ubon Ratchathani Province. 2) Ban Tha Wat, Lao Po Dang Sub District, Muang District, Sakon Nakhon Province. Research method was worked by questionnaire survey of selected household and interviewed with community leaders Government officer who involve in the study area, the local shop entrepreneurs, homestay services and local people.
The finding showed that both communities, Ban Tha Long and Ban Tha Wat, have mean at a high level in ecotourism and percentage tally (%) for cultural tourism is high level as well. The conclusion pointed out that both communities have the potential to be Ecotourism and Cultural-tourism nevertheless there are the factors should be improved are encouraging the local people do more participate in tourism activities and suggested to the Government entire local and national level plan to develop the tourist attractions accordingly and explicitly. There are two development approaches: community level development should encourage people the private sector and community leaders are involved in decision making. Open a public forum for the community to determine the direction of the area's development there are government agencies to support in planning in terms of mapping, potential and linking with other tourist attractions and the proactive work of government and regional levels. Regional development there should be a study and promotion of tourism that is linked as a tourism route by using the connection point in the dimension of cultural tourism with a story or a way of life along the Mekong in order to create a tourist destination in the region.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมต่อไป ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่บ้านท่าวัด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในการศึกษาในครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนและการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผู้ประกอบการร้านค้า ผู้ให้บริการโฮมสเตย์ และประชาชนในพื้นที่ศึกษาผลจากการศึกษาพบว่า พื้นที่ชุมชนบ้านท่าล้งและบ้านท่าวัด ทั้งสองพื้นที่นั้นมีค่าเฉลี่ย ( mean)เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในระดับมากทั้งสองพื้นที่ และค่าคะแนนร้อยละ(Percentage) เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่ในระดับมากทั้งสองพื้นที่เช่นกัน จึงสรุปได้ว่าพื้นที่ศึกษาทั้งสองพื้นที่ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และประเด็นที่ควรปรับปรุงคือ การส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น และมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้มีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน แนวทางการพัฒนามี 2 แนวทางคือ การพัฒนาระดับชุมชน ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชน เอกชนและผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เปิดเวทีสาธารณะให้ชุมชนกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนในการวางแผนทั้งในด้านแผนที่ ศักยภาพ และการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นและการทำงานเชิงรุกของภาครัฐและระดับภูมิภาค การพัฒนาระดับภูมิภาค ควรมีศึกษาและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้จุดเชื่อมต่อในมิติของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเรื่องราว (story ) หรือวิถีชีวิตริมโขงเพื่อให้เกิดจุดท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค |
Description: | Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P) การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3176 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59058317.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.