Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3180
Title: Evolution of meaning and physical of stair
บันได พัฒนาการทางความหมายและกายภาพของทางสัญจร
Authors: Phiraphat SOPHILA
พีรพัฒน์ โสพิลา
Adisorn Srisaowanunt
อดิศร ศรีเสาวนันท์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: บันได
ประวัติศาสตร์
พัฒนาการทางความหมาย
STAIR
STAIRCASE
HISTORY
MEANING
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Stairs are one of the most basic architectural elements closely linked to human dimension and proportion. Sizes of all stairs are created according to human ability and capability to step onto levels, in order to facilitate vertical movement. As a primordial architectural element, stairs have been created and used since ancient times. Its basic characteristics have undergone various transformations throughout history till today.   However, most of the historical observations in the past have been weighed more into ‘physical’ transformation than ‘symbolic’ or ‘meaning’ development which also has importance and influence over the creation of stairs. This research aims to study the relation between physicality and symbolic connotation of stairs that influence one another on the hypothesis that “the physicality of stairs can be altered to match accordingly with the essence it grants from the society.” That is to say, if forms are capable of giving stairs their own meaning, on the contrary, the meaning is also capable of shaping the form of stairs. The study launches by analyzing 2 different classified documents; one is the physicality of stairs that leans more into a comprehensive architectural design scope, another is the imagery of stairs that focus and emphasize on understanding stairs that exist beyond corporeality, to realize their relation of ‘form’ and ‘symbol’ according to the historical timeline of architecture. Thenceforth categorizes them using Umberto Eco’s theory as the frame of reference. Lastly, interpret their existing connotations and put them together into new groups. The result reveals that the physical transformation of stairs constantly has direct variation with the development of its incorporeal correlative. In other words, physical alterations that are seen in each era of the entire perspective are caused by changes in smaller levels of their own connotation. On the contrary, these small transformations in appearance can likewise lead to structural diversification and reevaluation of the meaning of stairs. Therefore, stairs are the architectural reflections that deliberately combine these factors to form outcomes with complete meanings and beauty in every aspect.
บันไดเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เราคุ้นเคยและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัดส่วนของมนุษย์อย่างมาก ระยะของบันไดถูกคิดขึ้นจากระยะก้าวของมนุษย์มีจุดประสงค์ในการเชื่อมพื้นที่ต่างระดับกัน บันไดยังถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานแรกเริ่มในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม หลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายบ่งชี้ว่ามนุษย์เรียนรู้ที่จะสร้างเครื่องมือเพื่อใช้เคลื่อนไหวในแนวดิ่งและพัฒนาเครื่องมือเหล่านั้นจนกลายเป็นระบบสัญจรซึ่งมีความซับซ้อนดังปรากฏในปัจจุบัน ทว่าการศึกษาประวัติศาสตร์บันไดที่ผ่านมากลับให้น้ำหนักไปยังพัฒนาการทาง “กายภาพ” มากเกินไปจนหลงลืมพัฒนาการทาง “ความหมาย” ซึ่งมีความสำคัญต่อการก่อรูปบันไดในยุคสมัยต่างๆไม่แพ้กัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพและความหมายของบันไดที่ส่งผลอย่างเป็นพลวัตต่อกันโดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า “กายภาพของบันไดสามารถเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับความหมายที่ผู้คนในสังคมมอบให้” กล่าวคือ หากกายภาพก่อให้เกิดความหมายแก่บันได ในทางกลับกันความหมายเหล่านั้นก็สามารถย้อนกลับมากำหนดกายภาพได้ การศึกษาเริ่มต้นจากการวิเคราะห์เอกสารสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของกายภาพของบันไดซึ่งครอบคลุมเนื้อหาการออกแบบที่อยู่ใต้ขอบเขตของงานสถาปัตยกรรม และ กลุ่มของจินตภาพของบันไดซึ่งมุ่งเน้นการทำความเข้าใจบันไดที่ปรากฏนอกเหนือขอบเขตงานสถาปัตยกรรมเพื่อหารูปแบบความสัมพันธ์ของการ “ก่อร่าง” และ “การก่อความหมาย” ของบันไดเรียงลำดับตามเส้นเวลาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จากนั้นจึงจัดกลุ่มความหมายโดยอ้างอิงแนวความคิดของ Umberto Eco เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ส่วนสุดท้ายเป็นการตีความรูปแบบความหมายเดิมเพื่อนำมาสู่การจัดกลุ่มความหมายใหม่ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาการทางกายภาพของบันไดแปรผันตรงกับพัฒนาการทางความหมายอย่างเป็นพลวัต กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงระดับกายภาพที่มองเห็นเป็นภาพใหญ่ในแต่ละยุคสมัยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในระดับความหมายย่อยซึ่งซ้อนทับกันอยู่เป็นชั้นๆ ในทางกลับกันการเปลี่ยนแปลงในระดับกายภาพเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนำมาสู่การกำหนดความหมายใหม่ บันไดจึงเปรียบเสมือนภาพสะท้อนของงานสถาปัตยกรรมอันเป็นผลผลิตจากการประกอบสิ่งต่างๆเหล่านี้จนครบถ้วนสมบูรณ์ อุดมไปด้วยความหมายและงดงามในทุกมิติ
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3180
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620220045.pdf11.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.