Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3185
Title: BUDDHIST ART ACCORDING TO KING CHULALONGKORN’S ROYAL THOUGHT
งานพุทธศิลป์ในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Authors: Pichit ANGKASUPARAKUL
พิชิต อังคศุภรกุล
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: พุทธศิลป์
รัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Buddhist art
King Rama V
King Chulalongkorn
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of Buddhist art works created according to King Chulalongkorn’s royal initiative was divided into two main subjects: architecture and Buddha image. The result of study shows that the architecture style of temples built during the early years of his reign inherited the style of the early Rattanakosin period as appeared in the external structure. However, in the meantime, the interior style clearly shows imitation of western structures. Later, the king also ordered to adopt the western style into the construction of royal Buddhist temples. As a result, he hired foreign architects to work on the design and construction under his royal intention to offer as a Buddha worship in exotic way as well as for the durability of the building. In the latter half of his reign, the construction of Wat Benchamabophit and Wat Rachathiwas is an example of royal temple’s development of architectural styles that applied some elements of Western and Khmer art into the basis of traditional Thai buildings. During the first half of the reign, the creation of Buddha images built for his royal temples or used in royal ceremonies all adopted the style of King Rama IV’s preference. Later, the King ordered the replicas of some Siamese ancient Buddha images made out of his personal faith and favor. Moreover, King Chulalongkorn, by his royal intention to see the sculpture of Buddha as human-like image, directed an Italian sculptor to create the special models during last years of the reign. The noticeable characteristics of the Buddhist arts during the reign of King Rama V are the diversity of patterns and concepts. The main factors are his openness and access to art from foreign countries along with the intention to preserve the Siamese art and craftsmanship, causing the new creation an experimental Buddhist art. Another important factor is that there were various groups of skillful artisans from both Siam and foreign countries who were able to serve with their aptitude and ability in accordance with His Majesty's wish.
การศึกษางานพุทธศิลป์ในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลักคือเรื่องงานสถาปัตยกรรมและงานช่างพระพุทธรูป โดยผลการศึกษาทำให้ทราบว่าสถาปัตยกรรมในระยะแรกมีรูปแบบภายนอกที่แสดงการสืบต่อมาจากงานแบบประเพณีซึ่งนิยมสร้างในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ในขณะเดียวกันพระอารามเหล่านี้ก็แสดงรูปแบบการตกแต่งภายในที่เลียนแบบโครงสร้างอย่างตะวันตกอย่างชัดเจน ระยะต่อมาได้ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระอารามแบบตะวันตกขึ้น โดยการว่าจ้างนายช่างชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานออกแบบรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้พระราชประสงค์ที่จะถวายเป็นพุทธบูชาที่แปลกใหม่และเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ส่วนในช่วงปลายรัชกาล การก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรและวัดราชาธิวาสได้เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมพระอารามหลวงที่แสดงพัฒนาการด้านรูปแบบซึ่งเกิดจากการออกแบบจากพื้นฐานของอาคารไทยประเพณี โดยได้ประยุกต์องค์ประกอบบางประการจากศิลปะตะวันตกและศิลปะเขมรเข้าไปผสมผสานด้วย การสร้างพระพุทธรูปในช่วงครึ่งแรกของรัชกาล ทั้งที่เป็นพระพุทธรูปประธานในวัดที่ทรงสร้างหรือพระพุทธรูปที่ใช้ในพระราชพิธี ล้วนเป็นการสืบต่อแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 ทั้งสิ้น ครั้นต่อมาพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจำลองพระพุทธรูปโบราณฝีมือช่างสยามเกิดขึ้น เป็นผลมาจากพระราชดำริในการเลือกสร้างจำลองพระพุทธรูปที่ทรงศรัทธาเฉพาะองค์หรือมีความงามตามพระราชนิยมส่วนพระองค์ นอกจากนี้ในช่วงปลายรัชกาลยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ช่างชาวอิตาลีสร้างพระพุทธรูปลักษณะพิเศษที่มีความสมจริงตามพระราชประสงค์ที่ต้องการให้พระพุทธรูปมีลักษณะเหมือนมนุษย์ ลักษณะสำคัญของงานพุทธศิลป์ในสมัยรัชกาลที่ 5 คือเรื่องความหลากหลายของรูปแบบและแนวคิดที่ปรากฏ โดยปัจจัยหลักมาจากการที่พระองค์ทรงเปิดรับและการเข้าถึงงานศิลปกรรมจากต่างชาติควบคู่ไปกับการสงวนรักษารูปแบบงานช่างสยามเอาไว้ด้วย จนทำให้เกิดการทดลองสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ใหม่ขึ้นมา และอีกปัจจัยสำคัญคือการที่มีกลุ่มช่างต่างๆ ทั้งช่างไทยและต่างประเทศที่ถวายงานรับใช้ตามความถนัดและความสามารถที่มีได้ดังพระราชประสงค์
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3185
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107806.pdf22.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.