Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3207
Title: HOME DECORATING PRODUDT DESIGNPROJECT FROM RUNGNGOB MAKING PROCESSBY NGOB THAI BAILAN COMMUNITY IN PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA
โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากการทำรังงอบของกลุ่มชุมชนงอบไทยใบลาน จ.พระนครศรีอยุธยา
Authors: Ladawan BOOLKUSON
ลดาวัลย์ บุญกุศล
Patave Arrayapharnon
ปฐวี อารยภานนท์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: เฟอร์นิเจอร์
รังงอบ
จักสาน
Furniture
Straw hat
Weave
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study were to further techniques and methods of making Rungngob, to increase the value of products in order to help villagers who create Rungngob in gaining more income, to inherit Rungngob making wisdom that is going to disappear to still remain in the future, and to try on new materials in order to adapt design from Rungngob techniques. It is a mixed methods research which contains two parts: qualitative and quantitative research. For qualitative research, the research instruments included surveys, observations and interviews of Rungngob making technical specialists which used analytic induction and looked for consistency to link to design of home decoration products and furniture. For quantitative research, the research instrument was consumer satisfaction surveys of 200 people from the target group which analyzed data by using percentage, mean, and standard deviation. From the experiment of weaving Rungngob with various interesting materials and using several distinctive features of Ngob making ways to adapt with the experiment including  dyeing and knitting the knot, The study has brought primary experimental materials to analyze for designing furniture which brought out the identity and techniques of Rungngob. It was divided into two concepts: concept A (using a full-fledged Rungngob making technique) and concept B (using a shape cut off from Rungngob making technique). There were three pieces in each concept and they were used to inquire the possibility of products including suitability from experts in various fields and to bring the result to develop in order to evaluate the satisfaction of the target group. The result of this questionnaire found that the target group satisfied with living room furniture from concept A which had a suitable form, could reflect the identity of Rungngob and used concept and technique to make shapes become more modern.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการต่อยอดเทคนิคและวิธีการของการทำรังงอบและสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อกลุ่มชาวบ้านที่ทำรังงอบจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาการทำรังงอบที่กำลังจะสูญหายให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต และเพื่อทดลองวัสดุใหม่ๆเพื่อนำมาประยุกต์ในงานออกแบบที่มีเทคนิคมาจากการทำรังงอบ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคการทำรังงอบ วิเคราะห์แบบอุปนัยและหาความสอดคล้องกับทฤษฎีเพื่อเชื่อมโยงสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านประเภทเครื่องเรือน ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภคจาก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน จากการทดลองการสานรังงอบด้วยวัสดุหลายๆ ประเภทที่น่าสนใจ และการใช้ลักษณะเด่นหลายรูปแบบของการทำงอบมาประยุกต์ในการทดลอง ทั้งด้านการย้อมสี การถักเงื่อน เพื่อหาเทคนิคและรูปทรงที่มีความเป็นไปได้ทางการผลิตและคงไว้ด้วยเอกลักษณ์ของรังงอบ ผู้วิจัยได้นำวัสดุจากการทดลองเบื้องต้นมาวิเคราะห์เพื่อนำมา ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ประเภทเครื่องเรือน ที่ดึงอัตลักษณ์และเทคนิคของรังงอบโดยแบ่งเป็นสอง แนวทาง คือ รูปแบบ A (ใช้เทคนิคการสานรังงอบแบบเต็มชิ้น) กับ รูปแบบ B (ใช้รูปทรงที่ตัดทอนมาจากเทคนิคการสานรังงอบ)แนวคิดละ 3 ชิ้น เพื่อนำไปสอบถามความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ตลอดถึงความเหมาะสมกับ ผู้เชียวชาญด้านต่าง ๆ และนำผลงานมาพัฒนาเพื่อนำมาสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยผลสรุปจากแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายพบว่า เฟอร์นิเจอร์ประเภทที่นั่งรับแขกจากแนวคิด A “ใช้เทคนิคการสานรังงอบแบบเต็มชิ้น” มีรูปแบบที่เหมาสมและสามารถสะท้อนอัตลักษณ์รังงอบ ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.65 ซึ่งเป็นการนำเส้นหวายมาสานในเทคนิคของการทำรังงอบ และแนวคิด B “ใช้รูปทรงที่ตัดทอนมาจากเทคนิคการสานรังงอบ” อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 โดยมีการใช้แนวคิดและเทคนิคการทำรังงอบมาตัดทอนให้เกินรูปทรงที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3207
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60155307.pdf20.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.