Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3210
Title: JEWELRY DESIGN PROJECT REPRESENTS THE STATE OF IMPERMANENCE
โครงการออกแบบเครื่องประดับที่สะท้อนถึงสภาวะของความไม่จีรัง
Authors: Wirin CHAOWANA
วิริน เชาวนะ
SUPAVEE SIRINKRAPORN
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: เครื่องประดับ
ความไม่จีรัง
ไตรลักษณ์
การเปลี่ยนแปลง
JEWELRY
IMPERMANENCE
THE THREE MARKS OF EXISTENCE
CHANGE
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research project aims to create the jewelry that represents the state of impermanence which conforming with the Three marks of existence in Buddhism; impermanence, suffering, and non-self. Focusing on the doctrines of the Three marks of existence, the researcher analyzed and interpreted its essence into the design that embodies the aesthetics of decay in the jewelry. According to the analysis of the Three marks of existence, the core of impermanence is the constant state of changes. Therefore, the researcher applied the finding to the design process, depicting the appearance of decay and imperfection. The visual elements of the design are derived from the observation of the transformation of fresh flowers gradually wither over time. The jewelry materials were papers selected from the series of experiments which various methods of application were used on papers to create the characteristic of decay. After the observation and analysis of the visual elements, the next process is searching for design guidelines and creating forms related to the concept, resulting in the jewelry with values in terms of meaning, work process, and philosophy. Emerging from the research and its development is the researcher’s cognizance of the doctrines, and the understanding of purposeful design methods and process. In term of the wearers, the finished design is intended to influent the wearer’s realization of the impermanence of secular things. From the researching, analyzing, and experimenting on materials, the researcher has discovered the knowledge that can create jewelry representing the state of impermanence appropriately and consistent with the philosophical elements and the objectives of the project. The research findings can also be looked further into the composition and installation area on the body.
โครงการวิจัยนี้ต้องการสร้างสรรค์เครื่องประดับที่สะท้อนถึงสภาวะของความไม่จีรัง ซึ่งเป็นสัจธรรมที่สอดคล้องกับหลักไตรลักษณ์แห่งพุทธปรัชญาที่ว่าด้วยอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์ และอนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน มุ่งเน้นที่การศึกษาเนื้อหาของไตรลักษณ์เพื่อวิเคราะห์จุดสำคัญสำหรับการออกแบบ จากนั้นนำมาเชื่อมโยงสู่กระบวนการสร้างสรรค์ที่นำเสนอสุนทรียภาพของความเสื่อมสลายให้ปรากฏในผลงานเครื่องประดับ จากการวิเคราะห์หลักไตรลักษณ์พบว่าแก่นของความไม่จีรังคือการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นทุกขณะ จึงได้นำเนื้อหาดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานโดยมุ่งสู่การนำเสนอสิ่งที่แสดงความเสื่อมสลาย และความไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทัศนธาตุที่ใช้ในการออกแบบได้มาจากการสังเกตการแปรสภาพของมาลัยดอกไม้สดที่ค่อย ๆ แห้งเหี่ยวไปตามกาลเวลา และวัสดุได้มาจากการนำเอากระดาษมาทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเปิดเผยลักษณะและทัศนธาตุที่สื่อสารถึงสภาวะของความเสื่อมสลาย ภายหลังจากการสังเกตและบันทึกทัศนธาตุแห่งสภาวะดังกล่าว จักนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการออกแบบและนำไปขึ้นรูปผลงานที่สอดคล้องกับแนวความคิด เกิดเป็นผลงานเครื่องประดับที่มีคุณค่าในด้านของความหมาย กระบวนการทำงาน และปรัชญา นับเป็นวัตถุที่สร้างความประจักษ์ต่อจิตใจ เอื้อให้เกิดการตอบโต้หรือเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นประโยชน์ พร้อมทั้งนำพาผู้สวมใส่ไปสู่ความตระหนักถึงความไม่จีรังของสรรพสิ่ง จากกระบวนการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล และการทดลองวัสดุ ทำให้ค้นพบองค์ความรู้ที่นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องประดับอันสะท้อนถึงสภาวะของความไม่จีรังได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมแนวความคิดเชิงปรัชญา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย สามารถนำไปเสริมสร้างวิธีการสื่อสารขององค์ประกอบศิลป์และพื้นที่ติดตั้งบนร่างกายในฐานะของงานเครื่องประดับเพื่อยกระดับจิตใจต่อไป
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3210
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60157303.pdf13.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.