Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3222
Title: STUDY OF THE CONTEXT OF MULTICULTURAL SOCIETY IN THE SONGKHLA OLD TOWN, TOWARDS THE CREATION OF THE INSTALLATION ART IN THE SAKSITPHITHAK JETTY
การศึกษาบริบทเมืองเก่าสงขลา บ่อยาง สู่การสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางในพื้นที่ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์
Authors: Tanatorn KONGSENG
ธนธรณ์ ก้งเส้ง
PREECHA PUN-KLUM
ปรีชา ปั้นกล่ำ
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ศิลปะจัดวาง
กระบวนการมีส่วนร่วม
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
บริบทเมือง
เมืองเก่าสงขลาบ่อยาง
Installation Arts
Songkhla Old Town
Diversity
Participatory Process
Urban Context
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: A research study on the context of the old town of Bo Yang, Songkhla Province towards the creation of installation art in the sacred water area The researcher's objective of the study is to participate in creating art installations in the old town of Bo Yang , Songkhla Province which has to be appropriate for the people in the community so that they can take part in the process. Due to the COVID-19 epidemic in Thailand,            The researcher has to find a method of installation art setting in the safest way for the situation, and to be suitable for the people in the community area. This research is a Participatory Action Research for seeking the knowledge and truth which can be verified by the scientific method. There are a lot of people coming together to learn to know themselve and community that people participating in the area depict the problem and solution in the community which has to be done by themselves. The data is collected from the interviews, field visits the people in the community, and group public hearings which has adapted in the safest way due to the COVID-19 situation. With people in the old town of Songkhla Bo Yang, they are the primary target group, working together and exchanging one another's opinions to get the best creative way of installation art and the creative process with the community in terms of forms, shapes and materials that are accessible to the communication. There are chances to experiment with artistic processes and pull out the potential of the community.  The concept of the work reflects the voices of the cultural diversity of the people in the community which is more than the issue of architecture, food, religion that the government mentioned. However, this research study illustrates the importance of people in the community with a variety of genders, ideas and beliefs from working together within the network  community. The form of work comes out under the concept through the shape of the pond. It is like a pond of Songkhla people in the past who needed to consume fresh water. Up until now, some houses still use this pond for their livelihood through a layout that must support alternately overlapping each other for stability and strength as representatives of each voice. Moreover, the researcher freely let people in the community come together to express themselves by placing the bricks that are traditional raw materials of Songkhla and let the community experiment with the creative process which is individual. The process allows people in community to work together through this art installation, yet the most important thing is that this art is owned by the people of Songkhla old town, Bo Yang The results of the research found that the researcher has discovered the knowledge, process of working creatively with the community and the way to solve problems according to the situation of Covid-19, which has good results to be able to work creatively with the community this time, according to the survey, the researcher perceives the interaction between people in the community which is a great result than the researcher expected, and this creates participation of artists in the area that has used elements of this installation art for portraying the artist's ideas in the area
การวิจัยเรื่องการศึกษาบริบทเมืองเก่าบ่อยาง จังหวัดสงขลา สู่การสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางในพื้นที่ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวางกับชุมชนเมืองเก่าบ่อยาง จังหวัดสงขลา ให้มีความเหมาะสมและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์กับคนในชุมชน ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์โควิด-19 และเหมาะสมกับการจัดวางในพื้นที่ ในการทําวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) เพื่อแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริงด้วยการใช้เครื่องมือการมีส่วนร่วมเก็บข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ การอาศัยร่วมกับคนในชุมชน และการทำประชาพิจารณ์กลุ่ม ประยุกต์เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โควิด - 19 โดยมีคนในชุมชนเมืองเก่าสงขลา บ่อยางเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ทํางานร่วมกันกับผู้วิจัยแลกเปลี่ยน สะท้อนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะจัดวาง และกระกระบวนการสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน ในด้านรูปแบบ รูปทรง และวัสดุ ที่สามารถเข้าถึงสื่อสาร เปิดโอกาสทดลองกระบวนการทางศิลปะ และดึงศักยภาพของชุมชนได้ โดยแนวคิดของผลงานสะท้อนมาจากเสียงแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนในชุมชน ที่มองข้ามไปมากกว่าเรื่องของสถาปัตยกรรม อาหาร ศาสนาที่ภาครัฐให้ความสำคัญ แต่ในส่วนของงานวิจัยนี้เห็นความสำคัญไปที่ผู้คนในชุมชน ที่มีความหลากหลายทั้งทางเพศ ความคิด และความเชื่อ จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายในชุมชนรูปแบบของผลงานออกมาภายใต้แนวความคิดผ่านรูปทรงของบ่อน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนบ่อแห่งชีวิตของคนสงขลาในอดีตที่มีความต้องการในการใช้บริโภคน้ำจืด เป็นความทรงจำร่วมของคนในชุมชนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันที่บางบ้านยังคงใช้บ่อน้ำนี้ในการดำรงชีวิต ผ่านรูปแบบการจัดวางที่ต้องพยุงสลับทับซ้อนกันเพื่อความมั่นคงแข็งแรงเปรียบเสมือนตัวแทนของแต่ละเสียงแต่คนในชุมชน และให้ผู้คนในชุมชนร่วมกันแสดงออกผ่านก้อนอิฐที่เป็นวัตถุดิบดั้งเดิมของเมืองสงขลา ออกมาอย่างอิสระไร้กรอบ ให้ชุมชนได้ทดลองกระบวนการสร้างสรรค์ที่เป็นความปัจเจกของแต่ละบุคคล เพื่อให้กระบวนการมีส่วนร่วมกับชาวบ้านได้ร่วมสื่อสารผ่านงานศิลปะจัดวางชิ้นนี้ และชุมชนเป็นเจ้าของผลงานศิลปะนี้ร่วมกันของคนในชุมชนเมืองเก่าสงขลา บ่อยาง ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้วิจัยได้ค้นพบองค์ความรู้ กระบวนการทำงานสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน ที่เกิดขึ้นมาจากการ แก้ไขปัญหาตามสถานการณ์โควิด - 19 ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดี และการที่ได้ทำงานสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนครั้งนี้ จากการสํารวจตัวผลงาน สามารถเห็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างผลงานและคนในชุมชน สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของศิลปินในพื้นที่ ที่ได้ใช้องค์ประกอบของงานศิลปะจัดวางชิ้นนี้ ในการสื่อสารของศิลปินในพื้นที่เอง
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3222
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620420010.pdf8.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.