Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/323
Title: การบำบัดดินที่ปนเปื้อนออกซีเตเตราซัยคลินโดยต้นดาวเรือง
Other Titles: PHYTOREMEDIATION OF OXYTETRACYCLINE CONTAMINATED SOIL BY TAGETES ERECTA L.
Authors: สิทธิชัย, วรินทิพย์
Sittichai, Warinthip
Keywords: การบำบัดด้วยพืช
ดิน
ออกซีเตตราซัยคลิน
ดาวเรือง
PHYTOREMEDIATION
SOIL
OXYTETRACYCLINE
TAGETES ERECTA L.
Issue Date: 21-Sep-2015
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดดินปนเปื้อนออกซีเตตราซัยคลินโดยต้นดาวเรือง การศึกษาประกอบด้วย 3 ชุดทดลองคือ การทดลองการดูดซับออกซีเตตราซัยคลินในดิน การทดลองการสลายตัวของออกซีเตตราซัยคลินในดิน และการทดลองการสะสมออกซีเตตราซัยคลินของต้นดาวเรือง สำหรับการทดลองการดูดซับออกซีเตตราซัยคลินในดินพบว่าค่าการดูดซับออกซีเตตราซัยคลินในดิน (Kd) ที่อุณหภูมิ 25 ± 2 °ซ ที่จุดสมดุลมีค่าเท่ากับ 3.11 ล./กก. แสดงว่าสารถูกดูดซับในดินได้ค่อนข้างต่ำ ส่วนการทดลองการสลายตัวในดินที่อุณหภูมิ 25 ± 2 °ซ และไม่มีแสง พบว่าความเข้มข้นของออกซีเตตราซัยคลินในดินลดลงตามเวลา โดยอัตราคงที่ของการสลายตัว (kdeg) ในดินมีค่าเท่ากับ 0.29 ต่อวัน และ ค่าครึ่งชีวิต (t1/2) ของสารเท่ากับ 2.4 วัน การทดลองการสะสมออกซีเตตราซัยคลินในต้นดาวเรืองใช้เวลา 25 วัน ผลการทดลองพบว่า ต้นดาวเรืองสามารถสะสมออกซีเตตราซัยคลินไว้ในรากและลำต้นแสดงว่ามีการเคลื่อนย้ายสารจากรากสู่ลำต้น (Translocation) สำหรับค่าการสะสมออกซีเตตราซัยคลินในราก (RCF) มีค่าระหว่าง 1.20 - 2.80 กก.ดินแห้ง/กก.รากแห้ง และลำต้น (SCF) มีค่าระหว่าง 1.40 - 2.70 กก.ดินแห้ง/กก.ลำต้นแห้ง ตามลำดับ ส่วนค่าการสะสมในต้นดาวเรือง (Bioconcentration factor หรือ BCF) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 2.05 กก.ดินแห้ง/กก.พืชแห้ง ผลการศึกษาการบำบัดออกซีเตตราซัยคลินในดินของต้นดาวเรืองพบว่ามีประสิทธิภาพ 86 เปอร์เซ็นต์ จึงสรุปว่าสามารถเลือกใช้ต้นดาวเรืองในการบำบัดดินที่มีออกซีเตตราซัยคลินปนเปื้อนได้ The Objective of this study was to investigate the phytoremediation of oxytetracycline contaminated soil by Marigolds (Tagetes erecta L.). Three experiments were performed; soil sorption experiment, degradation of oxytetracycline in soil experiment and bioaccumulation of oxytetracycline by Marigolds experiment. For soil sorption experiment, the soil sorption capacity (Kd) of oxytetracycline at equilibrium under the temperature control of 25 ± 2 ºC was 3.11 L/Kg. The relatively low Kd indicated that oxytetracycline was not likely to sorb on the experimental soil. For degradation experiment, the degradation rate constant (kdeg) of oxytetracycline in soil at 25 ± 2 ºC and without illumination was 0.29 per day and the half-life (t1/2) was 2.4 day. The Bioconcentration of oxytetracycline in the marigolds had been conducted for 25 days. The result showed the accumulation of oxytetracycline in both Root and Shoot which indicated the translocation occurred from Root to Shoot. The Root Concentration Factor (RCF) were between 1.20 - 2.80 Kg. soil dry weight/kg. root dry weight and Shoot Concentration Factor (SCF) were between 1.40 - 2.70 Kg. soil dry weight/Kg. shoot dry weight The highest Bioconcentration Factor (BCF) of oxytetracycline in Marigold were 2.05 Kg. soil dry weight/Kg. plant dry weight. The removal efficiency of oxytetracycline in soil by Marigolds was 86 %. In conclusion, Marigolds can be used in phytoremediation of oxytetracycline contaminated in soil.
Description: 55311320 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- วรินทิพย์ สิทธิชัย
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/323
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วรินทิพย์.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.