Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3236
Title: The Development of an English Reading Instructional Model through Problem-Based Learning Integrated with Collaborative Strategic Reading to Enhance Reading Comprehension Ability and Reading Strategy Use for Undergraduates
การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่าน เพื่อความเข้าใจและการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: Sasithida SARAIWANG
ศศิธิดา สาหร่ายวัง
Patteera Thienpermpool
ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล
Silpakorn University. Education
Keywords: การอ่านเพื่อความเข้าใจ
การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ
READING COMPREHENSION
PROBLEM-BASED LEARNING
COLLABORATIVE STRATEGIC READING
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this Research and Development were to: 1) study and develop an English reading instructional model through problem-based learning integrated with collaborative strategic reading to enhance reading comprehension ability and reading strategy use for undergraduates 2) evaluate the effectiveness of the reading instructional model by 2.1) comparing students’ reading comprehension ability before and after using the model 2.2) comparing students’ reading strategies use before and after using the model, and 2.3) studying students’ opinions toward the model. The sample of this research was 43 second year undergraduates majoring in General Management, the Faculty of Management Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University. They enrolled for Business English 2 in Semester 2 of Academic year 2562 and were randomly selected by convenience sampling. The experimental period was conducted for 10 weeks. The instruments used in this research consisted of: 1) PADPE Model 2) teacher’s manual for PADPE Model 3) 4 lesson plans together with exercises 4) a reading comprehension test 5) a survey of reading strategies 6) a questionnaire for students’ opinions toward PADPE Model, and 7) a reading log. The data were analyzed by mean, S.D., paired-sample t-test, and content analysis. The results were as follows: 1) The English Reading Instructional Model through Problem-Based Learning Integrated with Collaborative Strategic Reading to Enhance Reading Comprehension Ability and Reading Strategy Use for Undergraduates is called PADPE consisting of 5 phases: Phase 1 P: Preparation, Phase 2 A: Analysis, Phase 3 D: Development, Phase 4 P: Presentation, and Phase 5 E:Evaluation. 2) The scores of students’ reading comprehension ability after using PADPE Model were significantly higher than before using the model at the .05 level. 3) Reading strategy use of the students after using PADPE Model was higher than before using the model at a statistically significant level at .05. 4) Students’ opinions after using PADPE Model was at a high level.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจและการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 2.2) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ และ 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ระยะเวลาในการทดลองใช้เวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจ 5) แบบสำรวจการใช้กลวิธีการอ่าน 6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบ และ 7) บันทึกการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test แบบจับคู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกลวิธีการอ่านแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจและการใช้กลวิธีในการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียกว่า PADPE ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม (P: Preparation) ระยะที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบ (A: Analysis) ระยะที่ 3 พัฒนาผลงาน (D: Development)ระยะที่ 4 นำเสนอผลงาน (P: Presentation) และ ระยะที่ 5 ประเมินผลการเรียนรู้ (E: Evaluation) 2) คะแนนความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การใช้กลวิธีการอ่านของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3236
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58254906.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.