Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3237
Title: A Learning Management Model to Develop English Skills of Vocational Students in Thailand.
รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย
Authors: Tangpak TAKRUDKAEW
ต่างพักตร์ ตะกรุดแก้ว
KANIT KHEOVICHAI
คณิต เขียววิชัย
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้
ทักษะภาษาอังกฤษ
อาชีวศึกษา
Model of Learning Management
English Skills
Vocational Students
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is research and development aiming to: 1. study the current situation and the need for English language skills development of vocational students in Thailand; 2. construct and develop an instructional model; 3. study the results of the model implementation; and 4. to study satisfaction of students towards the model. The data were analyzed from questionnaires and in-depth interviews of 4 groups of people, namely a sample of 2nd year Industrial Diploma students and a group of key informants comprising English language course instructors, educational, administrators and entrepreneurs. The instruments used were questionnaires, in-depth interviews, learning management plans and an English skills assessment test. The collected data was analyzed using descriptive statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent sample t-test; and content analysis. The results revealed as follows:            1. In terms of current situations and needs in the context of internal and external factors contributing to learning management for improving English language skills, it was found that, there are some surprising differences among the students, English instructors and entrepreneurs in many dimensions especially on the issues related to teaching and learning and related knowledge and activities of each required English language skills of graduates This finding reflected the inconsistency between teaching management and the actual needs of learners and the workplace. 2. The developed learning management model, called the PIER+4 Model, consists of 4 main steps: 1) Preparation (P), 2) Instruction (I) 3) Evaluation (E), and 4) Reflection (R); and 4 supports for learning management, comprising 1) competency of the educational administrators 2) competency of the instructors 3) Availability of the environment, and 4) Readiness of the entrepreneurs.  The results of the model quality inspection found that overall, it was at a high level of appropriateness.   3. The results of the model implementation using authentic assessment revealed that the learning achievement of experimental students was significantly higher than the 60 percent criterion at the 0.01 level of significance (x̄ = 69.43, S.D. = 8.274). As for the English language skills focus, the skills that students had the highest average score were speaking, followed by reading, writing, and listening respectively. 4. The satisfaction level of the students towards the PIER+4 Model was at the highest level (x̄ = 4.18, S.D. = .769)
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศไทย 2. เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจากการตอบแบบสอบถาม และการให้สัมภาษณ์เชิงลึกของบุคลคล 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย กลุ่มผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาระดับ ปวส. กลุ่มผู้บริหารการศึกษา และ กลุ่มผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แผนการจัดการเรียนรู้ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ dependent sample t-test และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา   จากผลการวิจัย 1. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในบริบทที่เกี่ยวกับปัจจัยภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษฯ พบว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้านคือ 1) การจัดการเรียนการสอน 2) สมรรถนะของผู้เรียน 3) สมรรถนะของผู้สอน 4) สมรรถนะของผู้บริหารการศึกษา 5) ความพร้อมของสภาพแวดล้อมและ 6) ความพร้อมของสถานประกอบการ ในบริบทที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรายการประเมินได้แก่ 1) ความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษของตน 2) การจัดการเรียนการสอน 3) องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและกิจกรรมของแต่ละทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นของผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อการงานอาชีพ ประกอบด้วย ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมไปถึง ความรู้ด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ และการออกเสียง พบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและกิจกรรมของแต่ละทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นของผู้สำเร็จการศึกษา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องระหว่างการจัดการเรียนการสอนกับความต้องการอย่างแท้จริงของผู้เรียนและสถานประกอบการ         2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า PIER+4 Model   ประกอบด้วย 1. ขั้นตอนหลัก 4 ขั้น ได้แก่ 1) (Preparation- P) 2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Instruction- I) 3) ขั้นวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation- E) และ 4) ขั้นสะท้อนคิด (Reflection- E)  และ 2. สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) สมรรถนะของผู้บริหารการศึกษา 2) สมรรถนะของผู้สอน 3) ความพร้อมของสภาพแวดล้อม และ 4) ความพร้อมของสถานประกอบการ ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก         3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบโดยยึดหลักการประเมินตามสภาพจริง พบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของเกณฑ์ร้อยละ 65 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทักษะที่นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะการพูด รองลงมา คือ ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการฟัง ตามลำดับ         4. ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.18, S.D. = .769) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมาคือ วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหารายวิชา และ ผู้สอน ตามลำดับ โดยทั้ง 4 ด้านมีระดับความพึงพอใจ มากที่สุด และด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำที่สุดในระดับปานกลาง (x̄ = 3.37, S.D. =.740)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3237
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58260803.pdf6.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.