Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3268
Title: | USING OF MOTION INFOGRAPHIC WITH PROJECT BASED LEARNING IN GEOGRAPHY SUBJECT THAT AFFECTS THE ABILITY TO THINK ANALYTICAL AND COLLABORATE SKILLS OF MATTHAYOMSUKSA ONE STUDENTS IN NARIVITTAYA SCHOOL RATCHABURI ผลการใช้โมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนารีวิทยา ราชบุรี |
Authors: | Chayamorn KLATSAP ชยามร กลัดทรัพย์ Nammon Ruangrit น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | โมชั่นอินโฟกราฟิก โครงงานเป็นฐาน การคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน ภูมิศาสตร์ Motion Infographic Project Based Learning Analytical Thinking Collaboration Geography |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were: 1) To compare the ability to think analytically pretest and posttest learning of students in Matthayomsuksa one 2) To study the ability of Collaborate of Matthayomsuksa one students and 3) To study students’ satisfaction towards using motion infographics with project-based learning on geography. The sample groups for this research were Matthayomsuksa one students from Narivittaya school Ratchaburi during the academic year 2020, 30 students – selected by a simple random sampling. The instruments of this research were: 1) Lesson plan with project-based learning 2) Motion Infographics lesson 3) Analytical ability thinking test 4) Collaborative assessment 5) Project evaluation form and6) Satisfaction form. Data analysis technique are Mean, Standard deviation, Dependent T-test and F-test.
The results were as follows: 1) The differences of pretest and posttest of ability of analytical thinking of students in Matthayomsuksa one students, after learning higher than before learning statistically significant at the level of .05 2) The ability of collaboration was in high level and3) The student's satisfaction was in high level with mean of 4.54 and standard deviation of 0.08. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้โมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนารีวิทยา ราชบุรี ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการทำงานร่วมกัน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) โมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินการทำงานร่วมกัน 5) แบบประเมินผลการทำโครงงาน 6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent และค่าสถิติ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ3) ความพึงพอใจที่มีต่อโมชั่นอินโฟกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เรื่อง ภูมิศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3268 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59257308.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.