Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/326
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภูฆัง, กุลธิดา-
dc.contributor.authorPhookung, Kullatida-
dc.date.accessioned2017-08-26T02:43:16Z-
dc.date.available2017-08-26T02:43:16Z-
dc.date.issued2558-12-21-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/326-
dc.description55604802 ; สาขาวิชาการจัดการ -- กุลธิดา ภูฆังen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ถอดบทเรียนแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) พัฒนากลยุทธ์การจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4) นำเสนอกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และการเสวนาเสริมสร้างปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณา การวิเคราะห์หลังปฏิบัติ ค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. เครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการประสานเชื่อมโยงเครือข่าย 2 รูปแบบ คือ เครือข่ายร่วมพัฒนาระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ เครือข่ายสนับสนุน ความต้องการของการจัดการเครือข่ายพบว่าผู้บริหารต้องการสนับสนุนงบประมาณและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครูผู้ดูแลเด็กต้องการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ปกครองต้องการให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการดำเนินงานในด้านการจัดทำหลักสูตรและจัดประสบการณ์เรียนรู้เด็กให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน 2. แนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ประสบความสำเร็จมี 4 ด้านได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และ ด้านผลลัพธ์ 3. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก สามารถพัฒนากลยุทธ์การจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) กลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะครู 3) กลยุทธ์สร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 4) กลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 5) กลยุทธ์เสริมสร้างและพัฒนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ 6) กลยุทธ์ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และสร้างความไว้วางใจสู่สังคม 7) กลยุทธ์พัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ 8) กลยุทธ์ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน 9) กลยุทธ์เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย 10) กลยุทธ์การระดมทุนและทรัพยากร 11) กลยุทธ์ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา และ 4. การนำเสนอกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง และมีความเป็นได้ในการนำไปปฏิบัติ This research aimed to: 1) study the circumstance and need of a network management of child development center, 2) learn from good network management practices of child development center, 3) develop network management strategy of child development center, and 4) present network management strategy of child development center under the management of local government organization. Data were collected by a document analysis, non-participative observations, in-depth interviews, workshop and experts through an expertise Connoisseurship and a wisdom enhancement seminar of stakeholders. The data were analyzed by using descriptive Analysis, after action review, frequency and percentage. The research result indicated that `1. The child development center network under local government organizations had two types of network connection: a network for mutual development amongst sub-district and a supporting network. The needs of a network management were as follows. First, leaders wanted a continuous financial support and mutual support of network-building. Second, childcare teachers wanted a support in knowledge and skill development, and learning exchange. Third, parents wanted a child development center to perform a curriculum development and provide a child learning experience that was coherent with a community context. 2. Learn from good network management practices of child development center consisted of 4 aspects namely: input, process, output and outcome. 3. In regard to an analysis of external and internal environment, 11 strategies for a network management of child development center under the management of local government organization were developed. Those strategies were: 1) leadership development, 2) teacher’s competency, 3) organizational culture and learning atmosphere initiation, 4) efficient administration development followed good governance principles, 5) formulation and development of strategic and operational plans, 6) social interaction and trust enhancement, 7) communication and public relations development, 8) learning and teaching support, 9) participation enhancement and a strong network development, 10) capital and resource mobilization, and 11) network-building enhancement for mutual development. 4. From a wisdom enhancement seminar, it found that all strategies were appropriate and practical for implementation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectกลยุทธ์การจัดการen_US
dc.subjectเครือข่ายen_US
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen_US
dc.subjectMANAGEMENT STRATEGYen_US
dc.subjectNETWORKen_US
dc.subjectCHILD DEVELOPMENT CENTERen_US
dc.titleกลยุทธ์การจัดการเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.title.alternativeNETWORK MANAGEMENT STRATEGY OF CHILD DEVELOPMENT CENTER UNDER LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กุลธิดา.pdf13.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.