Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3273
Title: THE EFFECT OF E-BOOK WITH SYNECTICS INSTRUCTIONAL MODEL ON THE CREATIVE THINKING OF SIXTH-GRADE STUDENTS WITH DIFFERENT LEARNING STYLES
ผลของความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์จากการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีแบบการเรียนรู้ที่ต่างกัน
Authors: Yutthapon PONGPUTTHACHAT
ยุทธพล พงค์พุทธชาติ
THAPANEE  THAMMETAR
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา
Silpakorn University. Education
Keywords: ซินเนคติคส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ความคิดสร้างสรรค์
รูปแบบการเรียนรู้
Synectics
E-Book
Creative Thinking
Learning style
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) Compare the relative of creative thinking; pretest and posttest students with different learning styles. 2) Compare the relative of creative thinking between groups of students with different learning styles. 3) Study the students' satisfaction who have learned by E-book with Synectics instructional model. The samples of this research were 27 primary students of Anuban Suanphueng School. They were selected from Cluster Random Sampling and divided the groups of learners into three groups with a learning style: 1) Visual 2) Auditory 3) Kinesthetic. The instruments of this research were 1) Assessment form of learning style  2) Lesson plan 3) E-books of Visual art subject 4) Assessment form of creative artwork 5) Students' satisfaction assessment form toward the activities. The results of this research were as follows: 1) The creative thinking of students with different learning styles, posttest the learning higher scores than pretest learning there were significant differences at the level of .05 2) The creative thinking between students with different learning styles of three groups there were no significant differences at the level of .05 3) Satisfaction of students toward learning activities was at the high level (x = 4.01, S.D. = 0.09).  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการสอนแบบ ซินเนคติคส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการสุ่มแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน  27 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยแบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้ คือ 1) เรียนรู้ได้ดีทางสายตา 2) การเรียนรู้ได้ดีทางโสตประสาท 3) การเรียนรู้ได้ดีทางการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินรูปแบบการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์  3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาทัศนศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แบบประเมินความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์  5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน โดยการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ต่างกัน โดยการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการสอนแบบซินเนคติคส์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ 4.01 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.09
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3273
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59257404.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.