Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3276
Title: THE DEVELOPMENT OF CHINESE LISTENING AND SPEAKING ABILITY BASED ON TASK BASED LEARNING WITH MULTIMEDIA OF MATTAYOMSUKSA 1 STUDENTS
การพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Kunaporn MEECHAROEN
คุณาพร มีเจริญ
Ubonwan Songserm
อุบลวรรณ ส่งเสริม
Silpakorn University. Education
Keywords: ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน
สื่อมัลติมีเดีย
CHINESE LISTENING AND SPEAKING ABILITY
TASK-BASED LEARNING
MULTIMEDIA
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were : 1) to compare the learning achievements of the pretest and posttest by  task-based learning with multimedia 2)  to compare the present of Chinese listening and speaking ability before and after using Task based learning with multimedia 3) to study students’ satisfactions towards the task-based learning with multimedia. The samples was 37 Mathayomsuksa one students Prommanusorn school in Phetchaburi. They were selected using the cluster random sampling technique from a classroom. The instruments used for collecting data consisted of: 1) lesson plan 2) an achievement test 3) the ability test of listening  and speaking chinese and 4) the satisfaction questionnaire toward task-based learning with multimedia.  The statistics used to analyze the data were mean (M), standard deviation (SD) and dependent t-test. The results of the study were as follows. 1. After using task-based learning with multimedia  was  significantly higher before using the task-based learning with multimedia at the significance level of .05. 2. Chinese listening and speaking ability after using task-based learning with multimedia are significantly higher than before using the task-based learning with multimedia at the significance level of .05. 3. The satisfactions of the  students towards the task-based learning with multimedia were  very good at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 37 คน ของโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย(simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน 3) แบบวัดความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3276
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59263301.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.