Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3349
Title: Development Guideline of non-Hospital drug list Management system in Ratchaburi Hospital: A qualitative research.
แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการยานอกบัญชีรายการยาโรงพยาบาลราชบุรี: การวิจัยเชิงคุณภาพ 
Authors: Passorn THONGNORK
ภัสสร ทองนอก
PANOOPAT POOMPRUEK
ภานุพัฒน์ พุ่มพฤกษ์
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: การพัฒนาระบบ
ยานอกบัญชีรายการยาโรงพยาบาล
System development
non-Hospital Drug List
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract:        This research is a qualitative research with aim to develop the management process of non-Hospital Drug list in Ratchaburi Hospital. Data were collected from 14 systems-related staffs, consisting of 2 physicians, 4 pharmacists and 8 pharmacy technicians by individual interview and observation. The collected data were categorized and classified in the group. Content analysis method was used to make the conclusions of the research.  The research found that for the present procedures, there were 11 steps in non-hospital drug list management.         After analyzed procedures with administrative Resources 4M’s framework, Management component was the most problematic in the operations among hospital staffs and the operations between medical staffs and patients. Informant suggestions to improve in the management component included flowchart setting and documents to guide the operation of all related stakeholders particularly doctors, pharmacists and patients. Moreover, technology should be applied to alert and monitor the working process was program HOSxP. For the systematic problems, Informant agreed that the appropriateness of hospital drug lists should be reviewed annually. The procedure found a problem at dispensary the most, there were problems in finding the process and non-hospital drug information that made pharmacists could not make their decisions. Therefore, suggested to improve technology to access to the non-hospital drug database and monitor working process was program HOSxP. From research results, the management support could be divided into the system improvement and tools. System improvement, consisting of an annually meeting on non-hospital and urgent drug lists. Tools, including physician and patient standard operation procedures documents, process flowchart, program HOSxP for identifying and monitoring working process.
       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการยานอกบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลราชบุรี เก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมด 14 คน ประกอบไปด้วย แพทย์ 2 คน, เภสัชกร 4 คน, เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเภสัชกรรม 8 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล (individual interview) และการสังเกต ข้อมูลที่ได้ถูกจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทและใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) เพื่อยกระดับข้อมูลขึ้นเป็นข้อสรุปของการวิจัย        ผลการวิจัยพบว่าในปัจจุบันมีกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารจัดการยานอกบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลอยู่ทั้งสิ้น 11 ขั้นตอน โดยเมื่อทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้กรอบแนวคิดทรัพยากรการบริหารแบบ 4M’s  ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่า กระบวนการจัดการ (Management) เป็นส่วนที่มีปัญหามากที่สุด โดยข้อปัญหาที่มีความถี่มากที่สุดมี 2 ข้อได้แก่ การปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรภายในโรงพยาบาลและการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญในกระบวนการจัดการของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ การสร้างแผนผัง (Flowchart) การทำงานให้ชัดเจน, การมีเอกสารชี้แจงแนวทางปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องทั้งแพทย์ เภสัชกรและผู้ป่วย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อแจ้งเตือนและติดตามสถานะการทำงานในขั้นตอนต่างๆโดยใช้โปรแกรม HOSxP สำหรับการแก้ปัญหาในเชิงระบบผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าควรมีการทบทวนความเหมาะสมของรายการยาในบัญชีของโรงพยาบาลและมีการประชุมปรับปรุงรายการยาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  นอกจากนี้ในส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติงานพบปัญหาในขั้นตอน ณ จุดจ่ายยามากที่สุด โดยพบปัญหาการสืบค้นข้อมูลไม่สะดวกและการไม่ทราบรายการยานอกบัญชี ซึ่งมีข้อเสนอแนะให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงข้อมูลและติดตามสถานะการทำงานโดยใช้โปรแกรม HOSxP เช่นกัน  จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการยานอกบัญชีรายการยาโรงพยาบาลสามารถแบ่งได้เป็นการพัฒนาเชิงระบบและเครื่องมือสนับสนุน โดยเชิงระบบ ได้แก่ การประชุมปรับเปลี่ยนรายการยาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและการประชุมตกลงรายการยาเร่งด่วน ในส่วนของเครื่องมือสนับสนุนระบบ ได้แก่ เอกสารชี้แจงแพทย์, เอกสารชี้แจงผู้ป่วย, โปรแกรมHOSxP ติดตามสถานะการทำงานและระบุรายการยาที่เป็นยานอกบัญชีรายการยาโรงพยาบาลและแผนผังดำเนินงานในระบบบริหารจัดการยานอกบัญชีรายการยาโรงพยาบาล (Flowchart) ทั้งภาพรวมระบบและของงานบริการเภสัชกรรม
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3349
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58352314.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.