Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3353
Title: Behavior of Dietary Supplement Consumption of Patients with Non-Communicable Diseases in Samut Songkhram 
พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: Oranee WATSANAPHITRANON
อรณี วาสนาพิตรานนท์
WARANEE BUNCHUAILUA
วารณี บุญช่วยเหลือ
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
อาหารเสริม
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรคเรื้อรัง
พฤติกรรมการบริโภค
Dietary supplement
Food supplement
Supplement food
Food product
Non-communicable diseases
NCDs
Chronic disease
Behavior consumption
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this survey research was to determine factors related to consumption behavior of dietary supplement product among non-communicable diseases (NCDs) patients in Samut Songkhram province. The study was conducted in 344 patients with NCDs, including diabetes mellitus, hypertension and hyperlipidemia. Data were collected using a questionnaire through interview and home visit. Descriptive statistics and binary logistic regression were used for data analysis. Results showed that most of the patients were female (75.3%), with an average age of 65.16 years (standard deviation 0.622), and 42.5% were hypertensive patients. The opinions toward dietary supplement product regarding its therapeutic effect (mean opinion score of 2.67 out of 5) and patient safety (mean opinion score 2.88 out of 5) were neutral. However, patients agreed that dietary supplement is expensive (mean opinion score 3.89 out of 5). 33.1% of the patients had consumed dietary supplement products, for example, cordyceps (21%), collagen (14%) and fish oil (9.1%). Reasons for consumption of dietary supplement product were to nourish their body (44.1%) and to cure a disease (22.7%). The factors related to the consumption of dietary supplement were occupation (adjusted OR 0.50, 95% CI 0.30-0.84), sufficient income to purchase dietary supplement product (adjusted OR 2.90, 95% CI 1.72-4.89), opinion levels regarding therapeutic effect of dietary supplement (adjusted OR 2.83, 95% CI 1.48-5.38 and adjusted OR 4.01, 95% CI 1.88-8.55), opinions on patient safety of dietary supplement (adjusted OR 2.48, 95% CI 1.11-5.56) and opinions on the cost of dietary supplement (adjusted OR 0.14, 95% CI 0.04-0.54). The results of this study can be used as a guideline for patient care and for consumer protection in order to achieve health products surveillance for safety use. 
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ภาวะไขมันในเลือดสูง จำนวน 344 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านการสัมภาษณ์และการเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบไบนารี่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 75.3) อายุเฉลี่ย 65.16 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.622) เป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด (ร้อยละ 42.5) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในระดับไม่แน่ใจในด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้ผลในการรักษาโรคได้  (คะแนนความคิดเห็นเฉลี่ย 2.67 จากคะแนนเต็ม 5) และในด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความปลอดภัยในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (คะแนนความคิดเห็นเฉลี่ย 2.88 จากคะแนนเต็ม 5) แต่มีความคิดเห็นระดับเห็นด้วยในด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีราคาแพง (คะแนนความคิดเห็นเฉลี่ย 3.89 จากคะแนนเต็ม 5) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมีการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 33.1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ได้แก่  ถังเช่า (ร้อยละ 21) คอลลาเจน (ร้อยละ 14) และน้ำมันปลา (ร้อยละ 9.1) โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ เพื่อบำรุงร่างกาย (ร้อยละ 44.1) และเพื่อรักษาโรค (ร้อยละ 22.7) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ อาชีพ (adjusted OR 0.50, 95% CI 0.30-0.84) การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (adjusted OR 2.90, 95% CI 1.72-4.89)   และระดับความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในด้านการรักษาโรคได้ (adjusted OR 2.83, 95% CI 1.48-5.38 และ adjusted OR 4.01, 95% CI 1.88-8.55) ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความปลอดภัยในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(adjusted OR 2.48, 95% CI 1.11-5.56) ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีราคาแพง (adjusted OR 0.14, 95% CI 0.04-0.54)  ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความปลอดภัยในการใช้ต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3353
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59352303.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.