Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3355
Title: Applying Association Rule Learning and Principal Component Analysis to Identify Relating Factors on Rational Antibiotic Prescribing Decisions for Upper Respiratory Tract Infections in Outpatient.
การประยุกต์การเรียนรู้ด้วยกฎความสัมพันธ์และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเพื่อระบุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยนอก
Authors: Anantaya JAIDEE
อนันตญา ใจดี
LAWAN SRATTHAPHUT
ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: ยาปฏิชีวนะ
การสั่งจ่ายยาอย่างสมเหตุผล
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
อัลกอริทึมเอไพรออริ
การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก
antibiotic
rational drug use
upper respiratory tact infection
Apriori algorithm
Principal component analysis
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Objective: To investigate relating factors on rational antibiotic prescribing decisions for upper respiratory tract infections in outpatient Inburi hospital Singburi province and use the results of the study to suggest educational guidelines to prevent irrational antibiotic prescribing for upper respiratory tract infections in outpatients. Method: This was a retrospective study of the medical records of patients diagnosed with upper respiratory tract infections and received services at the outpatient department of Inburi hospital in Singburi province during the period of October 2016 to September 2019.  The 1740 samples were collected using stratified random sampling method and Identify Relating Factors on Rational Antibiotic Prescribing Decisions for Upper Respiratory Tract Infections in Outpatient in two method were method 1 analyzed by chi-square test in conjunction with principal component analysis create a model 1 and method 2 analyzed by only principal component analysis create a model 2. Then analyzed the correlation pattern of factors relating to rational antibiotic prescribing decisions by Apriori algorithm. Results: Factors obtained from Method 1 number 27 with 18 Apriori correlation patterns were analyzed. Factors obtained from Method 2 number 50 with 2 Apriori correlation patterns were analyzed. The both models were able to predict rational antibiotic prescribing decisions with similar high accuracy. Conclusion: In this study, predictive Model 1 was selected as a model for rational antibiotic prescribing decisions. Because this model was better to examine irrational antibiotics prescription. There was able to detect irrational antibiotics prescription to correct and prevent irrational antibiotic prescribing.
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลสำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และนำผลที่ได้จากการศึกษาเสนอแนะแนวทางการให้ความรู้เพื่อป้องกันการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลสำหรับการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยนอก วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำนวน 1740 ใบสั่งยา เป็นกลุ่มที่มีการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลจำนวน 1140 ใบสั่งยา วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลด้วย2 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 วิธีสถิติไคสแคว์ร่วมกับวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักสร้างเป็นแบบจำลองพยากรณ์ที่ 1 และวิธีที่ 2 วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักเพียงวิธีเดียวสร้างเป็นแบบจำลองพยากรณ์ที่ 2 จากนั้นวิเคราะห์หารูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลด้วย Apriori algorithm ผลการวิจัย: ปัจจัยที่ได้จากวิธีวิเคราะห์วิธีที่ 1 จำนวน 27 ปัจจัย วิเคราะห์หารูปแบบความสัมพันธ์ด้วย Apriori ได้จำนวน 18 รูปแบบ ส่วนปัจจัยที่ได้จากวิธีวิเคราะห์วิธีที่ 2 จำนวน 50 ปัจจัย วิเคราะห์หารูปแบบความสัมพันธ์ด้วย Apriori ได้จำนวน 2 รูปแบบ แบบจำลองพยากรณ์การตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลทั้ง 2 แบบจำลอง สามารถทำนายการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลได้ถูกต้องแม่นยำสูงใกล้เคียงกัน สรุป: ในการศึกษานี้ได้เลือกแบบจำลองพยากรณ์ที่ 1 เป็นแบบจำลองพยากรณ์การตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล เนื่องจากสามารถตรวจสอบใบสั่งยาที่มีการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลได้ดีกว่า สามารถนำมาตรวจจับใบสั่งยาที่มีการตัดสินใจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล เพื่อจะได้แก้ไขและป้องกันการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3355
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59363303.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.