Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3369
Title: DEVELOPMENT GUIDELINE THE NEW NORMALFOR MUSIC SCHOOL MANAGEMENT IN BANGKOK AREA
แนวทางการพัฒนาโรงเรียนดนตรีเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
Authors: Chawanon POTPRASAT
ชวนนท์ พจน์ประสาท
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
Silpakorn University. Music
Keywords: โรงเรียนดนตรีเอกชน
ชีวิตวิถีใหม่
ไวรัสโควิด-19
MUSIC SCHOOL MANAGEMENT
NEW NORMAL
COVID-19
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to develop guideline the new normal for music school management in Bangkok area. For this purpose, the problems and obstacles encountering individual music school management that managing their music teachers are sough and critically reviewed. Also, the Service Marketing Mix variables that affect consumer’s make a decision for individual music school service' Expertise of music teachers is the most important factor for consumers in order to make decision to spend service at individual music school. The methodology of this research is mix of qualitative and quantitative research including 2 part following. The qualitative research in the first part. The quantitative research in second part. First, 3 individual music school administrators in Bangkok area. Second, 400 questionnaires are collected from Music school consumer in Bangkok area. To analyze, this research use statistic tools including distribution of frequency, percentage, mean and standard deviation. The research concludes that significant problems and obstacles managing their music school plan knowledge. Moreover, Expertise of music teachers is the most important factor for consumer decision. For music school development guideline, there are 4 strategies including P (Personnel), A (Ambience), O (Online Learning), E (Easy Payment).
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโรงเรียนดนตรีเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 2. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในการตัดสินใจเข้ารับบริการโรงเรียนดนตรีเอกชน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 3. สร้างแนวทางการพัฒนาโรงเรียนดนตรีเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) แบ่งออกเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารธุรกิจโรงเรียนดนตรีเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ราย ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยจากเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ฉบับ จากผู้เข้ารับบริการโรงเรียนดนตรีเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ในการบริหารโรงเรียนดนตรี คือการที่บุคลากรครูผู้สอนภายในโรงเรียนดนตรีส่วนใหญ่เรียนจบทางด้านดนตรีมาโดยเฉพาะ ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน และปัญหาจากการเกิดของชีวิตวิถีใหม่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในส่วนของกลยุทธ์: แนวทางการพัฒนาโรงเรียนดนตรีเอกชน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 (P-A-O-E) นั้นมี 4 กลยุทธ์ ประกอบไปด้วย 1. การมีบุคลากรภายในโรงเรียนที่ดี (Personnel) 2. มีสถานที่ที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 (Ambience) 3. มีช่องทางการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) 4. มีช่องทางการลงทะเบียนเรียนและการชำระเงินที่ดี (Easy Payment) โดยผลการวิจัยในครั้งนี้จะสามารถนำไปเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาโรงเรียนดนตรี ให้สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นแนวทางการต่อยอดพัฒนาโรงเรียนดนตรีอีกด้วย
Description: Master of Music (M.Mus)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3369
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61701322.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.