Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3420
Title: Analyses of import process and decision making for air cargo importing using system dynamics technique: a case of a liquor import company
การวิเคราะห์กระบวนการและการตัดสินใจนำเข้าสินค้าทางอากาศด้วยเทคนิคพลวัตระบบ กรณีบริษัทนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง
Authors: Siwaporn DEEDIT
ศิวาภรณ์ ดีดิษฐ์
CHOOSAK PORNSING
ชูศักดิ์ พรสิงห์
Silpakorn University. Engineering and Industrial Technology
Keywords: พลวัตระบบ
การนำเข้าสินค้าทางอากาศ
ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าทางอากาศ
System Dynamics
Air cargo importing
The cost of air cargo importing
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study the factors and the optimal cost of air cargo importing using system dynamics technique: a case of a liquor import company. With a focus on wine imports as it is the company's most air cargo importing, using data from 2019. After that, the System Dynamics model was constructed by using Vensim program and tested various factors affecting the cost of air cargo importing. The results of the research were as follows: The System Dynamics model points out the main factors: Weight of imported goods, The amount of imported goods (bottles), Numbers of order (shipment/year), and create a cost calculation option to compare with the pre-renovation expense. There are two options: the first option will reduce the number of imports and increase the number of imported products per time and the second option is to increase the number of imports and reduce the number of imported products per time. The model was tested using excel program from data analysis of the causal loop diagram and vensim program from stock and flow diagram. The two model test results were consistent, namely costs after updating the import with the first choice. As a result, total cost of the sample companies is reduced. As follows: from the excel program, decreased from 61,940 baht, which is 7.34% and from the vensim program, decreased from 23,914 baht or 2.83%. This makes it known to be an option to air cargo importing with the most reasonable cost. And can be used to plan future imports as well.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและหาค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมที่สุดของการนำเข้าสินค้าทางอากาศด้วยการศึกษาข้อมูลของบริษัทนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งหนึ่ง ด้วยการใช้ทฤษฎีพลวัตระบบช่วยในการศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่การนำเข้าสินค้าประเภทไวน์เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีการนำเข้าทางอากาศมากที่สุดของบริษัทโดยใช้ข้อมูลจากปี 2562 หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่สอดคล้องมาสร้างเป็นแบบจำลองพลวัตระบบด้วยโปรแกรม Vensim และได้ทดสอบปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนำเข้าสินค้าทางอากาศ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองพลวัตระบบชี้ให้เห็นปัจจัยหลักที่เป็นตัวควบคุมค่าใช้จ่ายคือ น้ำหนักของสินค้าที่นำเข้า จำนวนสินค้าที่นำเข้า (ขวด) จำนวนครั้งที่นำเข้า (ครั้ง/ปี) และสร้างทางเลือกในการคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายก่อนปรับปรุง โดยแบ่งออกเป็น 2 ทางเลือกคือ ทางเลือกแรกจะทำการลดจำนวนครั้งในการนำเข้าสินค้าและเพิ่มจำนวนสินค้าที่นำเข้าต่อครั้ง ทางเลือกที่สองจะทำการเพิ่มจำนวนครั้งในการนำเข้าสินค้าและลดจำนวนสินค้าที่นำเข้าต่อครั้ง และทดสอบแบบจำลองใช้โปรแกรม excel จากการวิเคราะห์ข้อมูลของแผนผังวงจรความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Loop) และโปรแกรม vensim จากการวิเคราะห์ข้อมูลของแผนผังสถานะและการไหล (Stock and Flow) ผลการทดสอบแบบจำลองทั้งสองมีความสอดคล้องกันคือ ค่าใช้จ่ายหลังจากทำการปรับปรุงการนำเข้าด้วยทางเลือกแรกนั้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทตัวอย่างลดลงดังนี้ จากการคำนวณด้วยโปรแกรม excel ลดลงจากเดิม 61,940 บาท ซึ่งคิดป็น 7.34% และจากการคำนวณด้วยโปรแกรม vensim ลดลงจากเดิมถึง  23,914 บาท หรือคิดเป็น 2.83% ทำให้ทราบถึงทางเลือกในการนำเข้าสินค้าทางอากาศที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมที่สุด และสามารถนำไปใช้วางแผนการนำเข้าสินค้าในอนาคตได้อีกด้วย
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3420
Appears in Collections:Engineering and Industrial Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620920050.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.