Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3433
Title: The Influence of Buddhist Principles on Organizational Administration of the State Enterprise which received Excellence Management Award and Having the Number One Income in the Country
อิทธิพลของหลักธรรมในการปกครอง ขององค์การรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ
Authors: Prat NGAMSOMPARK
ปรัชญ์ งามสมภาค
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: หลักธรรมในการปกครอง
ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ความพึงพอใจในงาน
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ
ความผูกพันองค์การ
พฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร
ภาวะผู้นำ
การรับรู้การสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์การ
Buddhist Administrative Principles
Burnout
Job Satisfaction
Organizational Citizenship Behaviour
Organizational Commitment
Individual Work Performance
Leadership
Perceived Organizational Support
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   This research aimed 1) To study the effect of Buddhist Administrative Principles on Job Satisfaction, Organizational Commitment, Organizational Citizenship Behaviour, Individual Work Performance and Burnout of the state enterprise which received Excellence Management Award and having the number one income in the country 2) To study the effect of Job Satisfaction, Organizational Commitment, Organizational Citizenship Behaviour and Burnout on Individual Work Performance of the state enterprise which received Excellence Management Award and having the number one income in the country 3) To study the Indirect Effect of Buddhist Administrative Principles on Individual Work Performance of the state enterprise which received Excellence Management Award and having the Number one income in the country through Job Satisfaction, Organizational Commitment, Organizational Citizenship Behaviour and Burnout as mediators 4) To study the alignment between Buddhist Principles and the administrative practice of the Senior Executive Vice Presidents of the state enterprise which received Excellence Management Award and having the number one income in the country. This research is mixed feature with quantitative and qualitative methodology. The questionnaire which used as the tools for data collection, a total 389 employees of the PTT Public Company Limited (PTT) and in-depth interview of 9 Senior Executive Vice President. The statistic to test an assumption is confirmatory factor analysis second order and confirmatory factor analysis of exogenous variable and endogenous variables.   The results of hypothesis testing showed that 1) Buddhist Administrative Principles had negative direct effect on Individual Work Performance 2) Buddhist Administrative Principles had positive direct effect on Job Satisfaction 3) Job Satisfaction had positive direct effect on Individual Work Performance 4) Buddhist Administrative Principles had positive direct effect on Organizational Commitment 5) Organizational Commitment had positive direct effect on Individual Work Performance 6) Buddhist Administrative Principles had positive direct effect on Organizational Citizenship Behaviour 7) Organizational Citizenship Behaviour had positive direct effect on Individual Work Performance 8) Buddhist Administrative Principles had negative direct effect on Burnout 9) Burnout had negative direct effect on Individual Work Performance 10) Buddhist Administrative Principles had positive indirect effect on Individual Work Performance through Job Satisfaction, Organizational Commitment, Organizational Citizenship Behaviour and Burnout as partial mediators 11) The result of the qualitative methodology showed that the Senior Executive Vice Presidents have practiced the Buddhist Principles in their living and managing the organization. The result of the model analysis showed that the model base on assumption were in harmony with the empirical data by Chi-Square Statistics = 85.22, p-value = 0.06, Normed Chi-Square = 1.29, CFI = 1.00, GFI = 0.98, AGFI = 0.93 and RMSEA = 0.03 The benefit from this research can explain the casual relationship and effect of Buddhist Principles on organizational administration of the state enterprise which received Excellence Management Award and having the number one income in the country. The explanation is presented by the Buddhist Administrative Principles for Individual Work Performance Model that have the leadership theory and organizational support theory as the basic theory which can be used to manage for guideline to create Buddhist Leadership and Individual Work Performance which affects the organizational performance.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของหลักธรรมในการปกครอง ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน ความผูกพันองค์การ การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร และภาวะหมดไฟในการทำงาน ขององค์การรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ 2. เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันองค์การ การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และภาวะ หมดไฟในการทำงาน ที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร ขององค์การรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ 3. เพื่อศึกษาถึงอิทธิพล ของหลักธรรมในการปกครอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรผ่าน ความพึงพอใจ ในงาน ความผูกพันองค์การ การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และภาวะหมดไฟ ในการทำงาน ขององค์การรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่ง ของประเทศ 4. เพื่อศึกษาถึงความสอดคล้องระหว่างหลักธรรมในการปกครองกับหลักคิดและ แนวทางการบริหารองค์การของผู้บริหารระดับสูงขององค์การรัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจ ยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 389 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีปรากฏการณ์วิทยา จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 9 คน สถิติ ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 2 อันดับ และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยสาเหตุและผลลัพธ์ของตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายใน ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักธรรมในการปกครอง มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อพฤติกรรม การปฏิบัติงานของบุคลากร 2) หลักธรรมในการปกครอง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจ ในงาน 3) ความพึงพอใจในงาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร 4) หลักธรรมในการปกครอง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันองค์การ 5) ความผูกพัน องค์การ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร 6) หลักธรรม ในการปกครอง มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 7) พฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร 8) หลักธรรมในการปกครอง มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน 9) ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร 10) หลักธรรม ในการปกครอง มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยมี ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ทำหน้าที่เป็นตัวแปรส่งผ่าน 11) ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพได้แสดง ให้เห็นว่า ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ มีการนำเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เป็นแนวคิดในการบริหารองค์การและ ผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ในนามองค์การอันเกี่ยวข้องด้วยสังคมชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์นับว่าผ่านเกณฑ์ โดย ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 85.22 ค่าความน่าจะเป็น ทางสถิติ เท่ากับ 0.06 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.29 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ แล้ว เท่ากับ 0.93 และค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ เท่ากับ 0.03 ประโยชน์ จากการวิจัยนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของหลักธรรมในการปกครอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ได้รับรางวัล รัฐวิสาหกิจยอดเยี่ยมและมีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ที่มีทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัย คือ ทฤษฎี ภาวะผู้นำและทฤษฎีการสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์การ โดยมีตัวแบบ “การจัดการองค์การ โดยใช้หลักธรรมจากพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ดีของบุคลากร นำองค์การ ไปสู่องค์การสมรรถนะสูง” (BEOPSIO MODEL) เป็นผลลัพธ์จากการวิจัย สามารถนำไปใช้ใน การบริหารจัดการองค์การและพัฒนา “ภาวะผู้นำเชิงพุทธ” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างพฤติกรรม ที่ดีของผู้บริหารและพฤติกรรมที่ดีในการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์การต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3433
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58604920.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.