Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3440
Title: THE INFLUENCE OF HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT AND READINESS TO CHANGE ON HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION OF THE OFFICE OF THE PUBLIC SECTOR DEVELOPMENT COMMISSION (OPDC)
อิทธิพลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงต่อการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
Authors: Ajaree RITTICHAI
อาจารี ฤทธิชัย
chalermchai kittisaknavin
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง
องค์การที่มีสมรรถนะสูง
HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT
READINESS TO CHANGE
HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study human resource development, readiness to change, and high performance organization 2) to compare mean of demographic factors with human resource development, readiness to change, and high performance organization 3) to study relationship between human resource development, readiness to change, and high performance organization and 4) to study factor affecting high performance organization of The Office of the Public Sector Development Commission (OPDC).  Mixed method was conducted as the methodology of this study, employing questionnaire to collect the quantitative data. The samples consisted of the 170 employees. Frequency, mean percentage, standard deviation, t-Test, One-way ANOVA, Pearson’s product moment coefficient and stepwise regression analysis were employed to analyze the data. In addition, 5 key informants who selected by using purposive sampling method were collected by In-depth Interview as a qualitative data. Content analysis was analyzed in this part. The results indicated as follow; 1.  The Office of the Public Sector Development Commission had high level of human resource development, readiness to change, and high performance organization. 2. The personal factor that are different in salary, education and department had experience different human resource development. The personal factor that are different in age, work experience in Office of the Public Sector Development Commission had experience different Individual readiness to change. The personal factor that are different in salary, education and department had experience different organizational readiness to change. The personal factor that are different in salary, education and positions had experience different high performance organization. 3. Human resource development had moderate positive relationship with Individual readiness to change and high performance organization. Human resource development had high positive relationship with organizational readiness to change. Individual readiness to change had moderate positive relationship with organizational readiness to change. High performance organization had moderate positive relationship with Individual readiness to change. High performance organization had high positive relationship with organizational readiness to change. 4. Organizational readiness to change and human resource development were main factors affecting high performance organization.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง 4) อิทธิพลของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงต่อการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินจากกลุ่มตัวอย่าง 170 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงองค์การและบุคคล และการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงอยู่ในระดับสูง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามรายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา และสังกัดหน่วยงานแตกต่างกันมีการรับรู้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามอายุ ประสบการณ์การทำงานในสำนักงาน ก.พ.ร. แตกต่างกันมีการรับรู้ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามรายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา สังกัดหน่วยงานแตกต่างกันมีการรับรู้ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์การแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามรายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งแตกต่างกันมีการรับรู้การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงแตกต่างกัน 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลและการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับองค์การ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับองค์การ การเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล และการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับองค์การ  4. ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระดับองค์การ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3440
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60601311.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.