Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3449
Title: MARKETING STRATEGY FOR THE WELL KNOWN HALAL RESTAURANTS IN BANGKOK
กลยุทธ์การตลาดสำหรับร้านอาหารฮาลาล ที่เป็นที่รู้จักในกรุงเทพมหานคร
Authors: Charinee ARYUKEN
ชาริณี อายุเคน
Kreagrit Ampavat
เกริกฤทธิ์ อัมพะวัต
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: อาหารฮาลาล
ส่วนประสมทางการตลาด
กลยุทธ์เชิงรุก
กลยุทธ์เชิงแก้ไข
กลยุทธ์เชิงป้องกัน
กลยุทธ์เชิงรับ
HALAL FOOD
MARKETING MIX
OFFENSIVE STRATEGIES
REFORMED STRATEGIES
PREVENTIVE STRATEGIES
DEFENSIVE STRATEGIES
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study is qualitative research that aimed to examine and propose marketing strategies for well-known Halal restaurants in Bangkok. Data was collected using in-depth interview from 13 Halal restaurants’ owners or managers in Bangkok. This research is to study the marketing mix for service businesses or 7P's to study the internal business environment and study the external environment of 5 factors, they are as follows 1) economic environment 2) social and cultural environment 3) political environment 4) technological environment and 5) environment of competitors, Including the risks which have been arising in the current situation to combine all the data to SWOT analysis then synthesize by using TOWS matrix to establish marketing strategies for Halal restaurants to be known and successful. The results showed that the Halal restaurant business has potential considering its strengths and opportunities, therefore these were offensive strategies namely 1) niche marketing strategy 2) an establishment of a Halal restaurant entrepreneur association 3) Halal restaurant operators should cooperate with the government to create a policy to help in advertising and public relations to disseminate correct information about Halal food 4) marketing on the online platforms that could communicate to target customers both within the country and abroad. Reformed strategies were 1) managers should be aware of the changing of technologies and trends 2) creating partnership promotion programs for other tourism businesses to attract foreign Muslim tourists. A preventive strategy was learning how to cook other types of food that are popular and extend new target group to non-Muslim customers, along with arranging sales promotion activities and increasing distribution channels to be diversified, convenient and easy to use. Lastly, defensive strategies were as follows 1) build the image of Halal food by showing the various cuisines 2) focusing on consuming clean food for good health 3) resulting from Coronavirus pandemic and political instability, Halal restaurants should offer food delivery service couple with creating sale promotions programs.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับร้านอาหารฮาลาลที่เป็นที่รู้จักในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของหรือผู้จัดการร้านอาหารฮาลาลในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 13 ราย โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ หรือ 7P’s เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมภายในของธุรกิจและศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 2) สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม 3) สภาพแวดล้อมทางการเมือง 4) สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และ 5) สภาพแวดล้อมของคู่แข่งขัน รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสู่การวิเคราะห์ SWOT แล้วจึงสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยใช้ตารางแบบแมตริกซ์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับร้านอาหารฮาลาลให้เป็นที่รู้จักและประสบความสำเร็จ ผลการศึกษาพบว่าธุรกิจร้านอาหารฮาลาลมีศักยภาพเมื่อพิจารณาจากจุดแข็งและโอกาสที่มี จึงได้เป็นกลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ 1) กลยุทธ์การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม 2) การรวมตัวจัดตั้งสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารฮาลาล 3) ผู้ประกอบการร้านอาหารฮาลาลควรร่วมมือกับภาครัฐจัดทำนโยบายช่วยเหลือในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารฮาลาล 4) การทำการตลาดบนโลกออนไลน์ที่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ 1) ผู้บริหารควรรู้เท่าทันเทคโนโลยีและกระแสนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป 2) จัดโปรแกรมส่งเสริมการตลาดกับธุรกิจด้านการท่องเที่ยวแขนงต่างๆเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติชาวมุสลิม กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ เรียนรู้วิธีการประกอบอาหารประเภทอื่นที่กำลังเป็นที่นิยม พร้อมกับขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ไปยังลูกค้าที่ไม่ใช่มุสลิม ควบคู่กับการจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความหลากหลาย สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน และกลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ 1) สร้างภาพลักษณ์ของอาหารฮาลาล โดยแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของประเภทอาหาร 2) ให้ความสำคัญกับการทานอาหารคลีน 3) ผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและความไม่มั่นคงทางการเมือง ร้านอาหารฮาลาลจึงควรมีบริการจัดส่งอาหารควบคู่กับการจัดทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย
Description: Master of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3449
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61602338.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.