Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3457
Title: Development Approach for Ban-Hua-Ao Organic FarmingCommunity Enterprise towards Quality Destination
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ
Authors: Supanida ITSRAPORNPAITOON
ศุภนิดา อิศราพรไพฑูรย์
Sawanya Thammaapipon
สวรรยา ธรรมอภิพล
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: แนวทางการพัฒนา
วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าว
การท่องเที่ยวโดยชุมชน
แหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ
DEVELOPMENT APPROACH
BAN-HUA-AO ORGANIC FARMING COMMUNITY ENTERPRISE
COMMUNITY TOURISM
QUALITY DESTINATION
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to 1) study the tourism situation of Ban-Hua-Ao Organic Farming Community Enterprise. 2) study the satisfaction of tourists who travel to Ban-Hua-Ao Organic Farming Community Enterprise and 3) study the development approach in Ban-Hua-Ao Organic Farming Community Enterprise towards Quality Destination. The study by in-depth interview method with Information providers include: president and member of Ban-Hua-Ao Organic Farming Community Enterprise, people in Ban Hua Ao community, staff of relevant departments in the area and 37 tourists. Check the validity and analyze qualitative data, Present of the description. The results found the circumstances of Ban-Hua-Ao Organic Farming Community Enterprise tourism has internal environment, Applied from 4m and 7S McKinney's Model as the strengths included group structure with the explicit tasks and roles, strategies, core values, group leader, and administrative system. On the other hand, its weakness is lack of communication skills/technological utilization and few number of group members. The external circumstances, applied from PESTLE found that as opportunities are policies from government, technology, regulations to certify organic farming, and location. The threats found from COVID 19, the changes of economy, society, and tourism behaviors. And when studying the development of community enterprises Into becoming a Quality Destination by integrating tourist satisfaction data and from current operating conditions found the Development approach to Quality Destination there should be a concrete development in 4 areas which are 1) Hygiene and safety 2) Facilities 3) Quality, tourists should develop tourist attractions in accordance with the needs of quality tourists in various dimensions. 4) Public relations communication and skills of technology. The other 5 dimensions are conservation of natural resources, culture etc. Quality of products and services Personnel with knowledge Management and income distribution And fairness for tourists Is the aspect that the community enterprise Quality operation.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าว 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าว และ 3) หาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าวสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ดำเนินการศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าว ผู้นำกลุ่มประจำฐานกิจกรรม ประชาชนชุมชนบ้านหัวอ่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนักท่องเที่ยว รวม 37 คน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิเคราะห์เชิงคุณภาพและนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาความผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในวิสาหกิจชุมชนฯ โดยประยุกต์จากหลัก 4m และ 7S McKinney’s Model พบจุดแข็งด้านโครงสร้างกลุ่มชัดเจน มีการกำหนดกลยุทธ์องค์กร ค่านิยมความซื่อสัตย์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวางระบบการบริหารงาน ผู้นำกลุ่มเสียสละและมีภาวะผู้นำ และเงินทุนเพียงพอ ส่วนจุดอ่อนเรื่องบุคคลากรน้อยและสูงอายุ ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยี เมื่อวิเคราะห์ PESTLE พบโอกาสจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวจากภาครัฐ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การมีกฎระเบียบรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และที่ตั้งที่และสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยว ส่วนอุปสรรคมาจากโรคโควิด19 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ และเมื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนฯ สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ ด้วยการบูรณาการข้อมูลความพึงพอใจนักท่องเที่ยวและจากสภาพการดำเนินงานในปัจจุบัน พบแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ 4 ด้าน คือ 1) ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ทั้งมาตรการรักษาความสะอาด การป้องกันและควบคุมโรค 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับกับนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เป็นผู้สูงอายุในอนาคต 3) ด้านคุณภาพนักท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและลักษณะประชากรของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป 4) ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ให้เข้าถึงได้ง่าย ส่วนในอีก 5 มิติ ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชุมชน ด้านคุณภาพสินค้าและบริการ ด้านบุคลากรที่มีองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการและการกระจายรายได้ และด้านความเป็นธรรมแก่นักท่องเที่ยว เป็นด้านที่ทางวิสาหกิจชุมชนฯ มีการดำเนินงานที่มีคุณภาพ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3457
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621220012.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.