Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3469
Title: | A DEVELOPMENT OF THE BLENDED INSTRUCTIONAL MODEL USING DESIGN BASED LEARNING WITH SCAMPER TECHNIQUE TO ENHANCE CREATIVE EDUCATIONAL INNOVATION ABILITY OF PRE-SERVICE TEACHERS AT RAJABHAT UNIVERSITY การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การออกแบบเป็นฐานร่วมกับเทคนิคสแคมเพอร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Authors: | Suchittra CHANLOY สุจิตตรา จันทร์ลอย Anirut SATIMAN อนิรุทธ์ สติมั่น Silpakorn University. Education |
Keywords: | รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน การออกแบบเป็นฐาน เทคนิคสแคมเพอร์ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ Blended learning model Design-based learning SCAMPER technique Creative problem solving Educational innovation ability |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aimed 1) to create blended learning model 2) to test blended learning model, and 3) to provide blended learning model. The sample was the 23 pre-service teachers at Muban Chombueng Rajabhat University. The period of the model experiment was 8 weeks. The research tools used to collect data were as follows: 1) questionnaire about opinion of students and lecturers toward blended-learning; 2) interview form for the experts toward the blended-learning; 3) questionnaire toward the suitability of the trial model, learning plan, and learning media; 4) the test of creative problem solving skill; 5) the evaluation form for the creative educational innovation; 6) questionnaire toward the satisfaction on the instructional model, and 7) the model certification form. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and one sample t-test.
The results of the research were as follows:
1. The blended instructional model using design-based learning with SCAMPER technique to enhance creative educational innovation ability comprised of 7 elements: teacher’s role, student’s role, contents, set of questions, learning resources, blended-learning environment, and assessment. The steps of learning consisted of 8 steps according to the design-based learning process: knowledge, goal setting, context investigation, data collection, prototype, produce, presentation and evaluation. SCAMPER technique was inset in each step of learning.
2. The assessment results of model suitability were at the highest level with the mean of 4.67. (x̄ = 4.67, SD = 0.27)
3. The mean of creative problem-solving pretest scores was higher than the pretest score at the 0.05 level of significance.
4. The creative educational innovation ability was higher than the criterion at a significance level of 0.05
5. The satisfaction of the students toward the blended instructional model was at good level. (x̄ = 4.34, SD = 0.30)
6. The overall model was certified by the experts unanimously at the highest acceptation. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน 2. เพื่อทดลองรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาครูระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 23 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์เกี่ยวกับรูปแบบการสอนแบบผสมผสาน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบประเมินผลงานการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการเรียนการสอน และ 7) แบบประเมินรับรองรูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test dependent และ one sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทผู้สอน 2) บทบาทผู้เรียน 3) เนื้อหา 4) ชุดคำถาม 5) ทรัพยากรการเรียนการสอน 6) สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนออนไลน์โดยผ่านระบบจัดการเรียน (LMS) และเครื่องมือเทคโนโลยีที่มาสนับสนุนการเรียนรู้ และ 7) การประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และการประเมินนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ ขั้นตอนการเรียนการสอนประกอบด้วย 8 ขั้นตอนตามกระบวนการเรียนรู้การออกแบบเป็นฐาน ได้แก่ 1) การให้ความรู้ 2) การกำหนดเป้าหมาย 3) การสำรวจแนวทางการออกแบบ 4) การรวบรวมข้อมูล 5) การพัฒนาต้นแบบ 6) การพัฒนาชิ้นงาน 7) การนำเสนอผลงาน และ 8) การประเมินผล โดยแทรกการตั้งคำถามตามเทคนิคสแคมเพอร์ในทุกขั้นของการสอน 2. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (x̄ = 4.67, SD = 0.27) 3. ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ผลการศึกษาความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (CEIA Model) พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมในระดับมาก (x̄ = 4.34, SD = 0.30) 6. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ (CEIA Model) พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อองค์ประกอบและขั้นตอนอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3469 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59257803.pdf | 7.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.