Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3471
Title: THE DEVELOPMENT OF SOCIAL INNOVATION CREATIVE ABILITY IN GEOGRAPHY USING DESIGN THINKING LAERNING PROCESS FOR MATHAYOM-FIVE STUDENTS
การพัฒนาความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ในสาระภูมิศาสตร์ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Phipatpong CHITTEP
พิพัฒน์พงศ์ จิตต์เทพ
Manasanan Namsomboon
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์
Silpakorn University. Education
Keywords: การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม
นวัตกรรมทางสังคม
การคิดเชิงออกแบบ
Social Innovation Creative
Social Innovation
Design Thinking
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   This research aims to 1) Comparison of learning achievements in Geography of Mathayom 5 students after using design thinking process with criteria 70 percent. 2) To study ability of creating social innovation of Mathayom 5 students after using design thinking process. 3) To study the design thinking process in creating social innovation after using design thinking process of Mathayom 5 students. The sample of this research consisted of 31 Mathayom 5/1 students. Chanhunbamphen School in the first semester during the academic year 2020. Using the Simple Random Sampling. The research instruments consisted of 1) The 5th Unit planning: Physical environment and economics activity and 6th Unit: Natural Resources and sustainable environment development as the method of using design thinking process the index based on the consistency of 0.98 2) A learning achievements test for Geography as multiple choice answer for 4 options with 40 items the index based on the consistency of 0.95 with the difficulty (p) between 0.23 - 0.74 with discrimination (r) between 0.25 - 0.75 and reliability coefficient in value was 0.89 3) Ability test of Creative of Society Innovation the index based on to consistency of 0.93 4) The evaluation as the method of Creative of Society Innovation by Design Thinking the index based on the consistency of 0.96. The collected data was analyzed by mean (x̄), standard deviation (S.D.), and t-test dependent and content analysis. The result of the study are the follows: 1. The learning achievements for Geography of Mathayom 5 Students. After using design thinking process was higher than criteria 70 percent as the level of 0.5 significance. 2. The ability of creating social innovation of Mathayom 5 students. After using design thinking process was good level. 3. The design thinking process in creating social innovation after using design thinking process of Mathayom 5 students was good level.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ 3) ศึกษากระบวนการคิดเชิงออกแบบในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.98 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระภูมิศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.23 – 0.74 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25 – 0.75 และค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 3) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.93 และ 4) แบบประเมินกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบ อยู่ในระดับดี 3. กระบวนการคิดเชิงออกแบบในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ จัดการเรียนรู้การคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดี
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3471
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60262314.pdf8.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.