Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3474
Title: Animation : Narrative Art of Hope and Disappointment
แอนิเมชัน : ศิลปะการเล่าเรื่องความหวังและความผิดหวัง
Authors: Rattanaporn JILAKAHONG
รัตนาภรณ์ จิลากาหงษ์
Toeingam Guptabutra
เตยงาม คุปตะบุตร
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This Art thesis, "Animation: The Art of Telling a Story of Hope and Disappointment", begins with the story and memory of the researcher, which is an individual story from experience since adolescence. An expectation for the future outcome has always been in my deep emotion. If the expectation was not met, disappointment reaches negative feelings that send negative energy and inevitably affect mental emotion. During childhood, the researcher received a gift every year on Christmas day until she became an adult. The researcher has learned that disappointment leads to negative feelings and dissatisfaction, which test her inner feelings to accept the outcome. The expectation was the cause of uncertainty whether its results could not achieve success or fail. For this reason, the researcher took hope and disappointment and then conveyed it as a result of storytelling through a signal system with an animation style. The total length of the Animation was 00.08.51 minutes. To convey new creative memories, the researcher studied semiotic theory, literature book name “The memory is where the nostalgia is in.”, movie names “36”, and animation-name “I lost my body”. These works reflect the beautiful past stories and conceal various meanings through different characters and contexts. In terms of visual arts, the researcher was influenced by paintings from several artists. Before creating the artwork, the researcher planed the process : 1. writing memories on paper, 2. planning script, 3. creating a storyboard, and 4. creating works by editing Animation. The researcher used a computer program technique to create the artwork instead of painting on paper or canvas and used the process of animation work to coordinate with digital painting. The works' aesthetics were encompassed by the content and the physical of the works that focus on the mood of silence or loneliness. The researcher saw that the charm of creating animation works was to present a story with hidden ideas. The characters in the story did not exist in reality but had implications from telling the drama mixed with fantasy stories. This thesis aims to create a positive and valuable impact on viewers. All types of expected outcomes are uncertain and unpredictable.
ศิลปนิพนธ์ “แอนิเมชัน : ศิลปะการเล่าเรื่องความหวังและความผิดหวัง” มีจุดเริ่มต้นจากเรื่องราวและความทรงจำของผู้วิจัยซึ่งเป็นต้นเรื่องที่เป็นปัจเจกบุคคล จากประสบการณ์ในอดีตตั้งแต่ช่วงชีวิตวัยรุ่นเรื่อยมาเมื่อพินิจพิเคราะห์แล้วนั้นในความคาดหวังถูกฝังอยู่ในห้วงความรู้สึกมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการคาดหวังล่วงหน้าต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือการคาดหวังในตัวบุคคล ตรงกันข้ามหากสิ่งที่หวังไม่เป็นดังใจนั้นผลตอบแทนที่ได้รับคือความรู้สึกผิดหวัง เป็นความรู้สึกที่ส่งพลังลบและส่งผลกระทบต่อความรู้สึกทางใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์ในช่วงวัยเยาว์ของผู้วิจัยเป็นอีกหนึ่งความรู้สึกที่ส่งพลังลบนั่นคือเหตุการณ์เทศกาลวันคริสต์มาสต์ที่ผู้วิจัยนั้นจะต้องได้รับของขวัญในทุกๆ ปี แต่แล้วเมื่อถึงการสิ้นสุดของการได้ของขวัญ สิ่งที่ผู้วิจัยคาดหวังไว้นั้นกลับกลายเป็นความรู้สึกติดลบและความผิดหวังจึงเป็นดั่งบททดสอบความรู้สึกภายในใจให้เกิดการยอมรับหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การคาดหวังแม้ว่าผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบที่สมหวังหรือไม่ก็ตาม แท้จริงแล้วการคาดหวังเป็นต้นเหตุของการสร้างภาวะความไม่แน่นอนอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงหยิบเอาประเด็นของความหวังและความผิดหวังมาถ่ายทอดเป็นผลงานการเล่าเรื่องผ่านระบบสัญญะด้วยรูปแบบแอนิเมชัน ความยาวทั้งหมด 00.08.51 นาที การถ่ายทอดความทรงจำที่สร้างสรรค์ผ่านเรื่องเล่าใหม่ผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าจากทฤษฎีสัญญะวิทยา งานเขียนประเภทวรรณกรรมเรื่องความทรงจำอยู่ที่ไหน ความคิดถึงอยู่ที่นั่น ภาพยนตร์เรื่อง 36 ผลงานแอนิเมชันเรื่อง I lost my body โดยมีเนื้อหาถึงความทรงจำในอดีตถูกเล่าผ่านตัวละครในหลากหลายบริบท แต่งยังคงคุณค่าความงามที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้ ในแง่ของทัศนศิลป์ผู้วิจัยได้รับอิทธิพลจากศิลปินกรณีศึกษาที่มีผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานที่ถูกแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1.การเขียนบันทึกเรื่องราวในอดีต 2.การเขียนบท 3. การเขียนสตอรี่บอร์ด 4.การสร้างสรรค์ผลงานด้วยการตัดต่อแอนิเมชัน กายภาพของผลงานผุ้วิจัยใช้เทคนิคที่มีการต่อยอดจากงานจิตรกรรมคือการเขียนรูปด้วยโปรแกรมในคอมพิวเตอร์แทนการเขียนลงบนกระดาษหรือผ้าใบ และใช้กระบวนการของงานแอนิเมชันเข้ามาประสานร่วมกันกับงานดิจิตอลเพ้นท์ สุนทรียะของผลงานถูกครอบคลุมไปด้วยเนื้อหาและกายภาพของงานที่มุ่งถึงอารมณ์ของความเงียบหรือความเหงา ผู้วิจัยมองว่าเสน่ห์ของการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชัน คือการนำเสนอเรื่องราวที่แฝงด้วยแง่คิด ตัวละครในเนื้อเรื่องไม่ได้มีอยู่จริงหากแต่แฝงนัยยะจากการเล่าที่มีรูปแบบแนวดราม่าผสมแฟนตาซี เรื่องเล่าภายใต้ศิลปนิพนธ์ชิ้นนี้ผู้วิจัยมุ่งหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่รับชมผลงาน ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าผลลัพธ์ของการคาดหวังจะออกมาในรูปแบบใด ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนและคาดคะเนมิได้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3474
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59006206.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.